Page 71 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 71

2-57






                  ที่เกษตรกรขายได้เป็นรายภาค จะเห็นว่า ในช่วงดังกล่าวระดับราคามีอัตราการเพิ่มไม่แตกต่างจาก

                  อัตราการเพิ่มของราคาในจังหวัดสระบุรีและเพชรบูรณ์ กล่าวคือ ราคาที่เกษตรกรขายได้ในภาคเหนือ

                  เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 15.96 ต่อปี ภาคกลางราคาขายเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12.84 ต่อปี
                  (ตารางที่ 2-4) สถานการณ์ราคาเมล็ดทานตะวันทั้งระดับประเทศ ภาค และจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสําคัญ

                  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศผู้ผลิตที่สําคัญประสบภัยธรรมชาติและความต้องการนํ้ามันทานตะวัน

                  เพื่อการบริโภคและในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้น เพราะเป็นนํ้ามันที่มีคุณภาพสูงและมีประโยชน์

                  ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามระดับราคาที่เกษตรกรขายได้จะเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์
                  ที่ใช้เพาะปลูก ซึ่งบริษัทผู้รับซื้อเป็นผู้กําหนดมาตรฐาน


                  ตารางที่ 2-4  ราคาเมล็ดทานตะวันที่เกษตรกรขายได้ ปี 2550-2554

                                                                                    ราคา : บาทต่อกิโลกรัม
                                                        ปี                                 เปลี่ยนแปลง
                    ภาค/จังหวัด                                                   เฉลี่ย
                                    2550     2551      2552     2553     2554               (ร้อยละ)

                     ภาคเหนือ      11.33     14.46     15.90    13.22    18.92    14.77       15.96
                     ภาคกลาง       11.86     15.78     15.03    13.87    18.14    14.94       12.84

                      เพชรบูรณ์    11.30     15.93     14.57    14.31    19.85    15.19       17.34

                      สระบุรี      11.57     15.39     13.89    14.31    18.28    14.69       13.51
                  เฉลี่ยทั้งประเทศ  11.54    15.50     15.29    13.76    18.52    14.92       14.39

                  หมายเหตุ  : 1. ราคาขายปี 2553 ของจังหวัดเพชรบูรณ์ใช้ราคาขายเดียวกับจังหวัดสระบุรี

                                2. ไม่มีรายงานข้อมูลราคาของจังหวัดลพบุรีและนครสวรรค์
                  ที่มา     :  สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2555ก)



                        2.6.3  สถิติการค้า

                             ผลผลิตเมล็ดทานตะวันสําหรับสกัดนํ้ามันในประเทศไทยยังมีปริมาณไม่เพียงพอ
                  ต่อความต้องการ ซึ่งในแต่ละปีความต้องการใช้เมล็ดทานตะวันเพื่อการอุตสาหกรรมมีประมาณ

                  100,000 ตันต่อปี (พานิชย์, 2553) ผลิตภัณฑ์ทานตะวันที่ประเทศไทยนําเข้า ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน

                  และนํ้ามันดิบจากเมล็ดทานตะวัน ขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
                  ไปต่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากตลาดภายในประเทศของเมล็ดทานตะวันและนํ้ามันดิบจากเมล็ดทานตะวัน

                  เป็นสินค้าที่มีตลาดเฉพาะกลุ่มและมีราคาค่อนข้างสูง ผู้บริโภคทั่วไปไม่นิยมบริโภคและตลาดต่างประเทศ

                  มีความต้องการสูง









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76