Page 67 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 67

2-53






                  2.6  สภาพการผลิตและการตลาด


                        2.6.1 สภาพการผลิต

                             ทานตะวันเป็นพืชล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ทุกฤดูกาล มีความทนทานต่อสภาพ

                  แห้งแล้งได้ดี และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน เกษตรกรในประเทศไทยจึงนิยมปลูกทานตะวัน
                  เป็นพืชครั้งที่ 2 โดยปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                  จากข้อมูลสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2555ก) พื้นที่ปลูกทานตะวัน ปี 2554 ทั้งประเทศรวม

                  185,600 ไร่ ผลผลิตรวม 24,310 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 131 กิโลกรัม

                             ในช่วง 5 ปี ระหว่างปี 2550-2554 พื้นที่ปลูกโดยเฉลี่ย 183,967 ไร่ ลดลงในอัตราเฉลี่ย
                  ร้อยละ 1.20 ต่อปี ผลผลิตรวมโดยเฉลี่ย 22,536 ไร่ เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.07 ต่อปี ผลผลิตต่อไร่

                  โดยเฉลี่ย 122 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.13 ต่อปี (ตารางที่ 2-2)

                             จากบทความส่งเสริมการเกษตร เรื่อง มาปลูกทานตะวันเป็นพืชรุ่น 2 กันเถอะ
                  ของกรมส่งเสริมการเกษตร (ม.ป.ป.ข) ได้กล่าวไว้ว่า “กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมให้เกษตรกร

                  ปลูกทานตะวันเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปี 2531 ปีแรกมีพื้นที่ดําเนินการประมาณ 750 ไร่

                  ปี 2537 พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 1.4 แสนไร่ ผลผลิต 22,000 ตัน ปี 2541 พื้นที่ปลูกเพิ่มเป็น 4 แสนไร่

                  ผลผลิต 7.2 แสนตัน ปี 2542 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 6 แสนไร่ ผลผลิต 92,000 ตัน จะเห็นว่า โครงการ
                  ส่งเสริมการปลูกทานตะวันครบวงจรได้รับความสนใจจากเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้ลด

                  การนําเข้านํ้ามันทานตะวันจากต่างประเทศ แต่ละปีเป็นจํานวนมาก ที่สําคัญเกษตรกรมีรายได้เพิ่มจาก

                  พืชรุ่น 2 รวมทั้งเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกวิธีหนึ่ง” หลังจากปี 2543 พื้นที่ปลูก
                  ทานตะวันค่อยๆ ลดลง เนื่องจากเกษตรกรหันมาปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และ

                  อ้อยโรงงาน ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า

                             แหล่งผลิตที่สําคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ได้แก่
                  จังหวัดอุทัยธานี ชัยภูมิ และสกลนคร เป็นต้น ปี 2554 พื้นที่ปลูกในจังหวัดลพบุรี 104,810 ไร่ (ร้อยละ

                  56.47 ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ) พื้นที่เก็บเกี่ยว 54,071 ไร่ ผลผลิตรวม 6,563 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ

                  121 กิโลกรัม พื้นที่ปลูกในจังหวัดนครสวรรค์ 40,500 ไร่ (ร้อยละ 21.82) พื้นที่เก็บเกี่ยว 20,754 ไร่
                  ผลผลิตรวม 4,565 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 220 กิโลกรัม และพื้นที่ปลูกในจังหวัดสระบุรี 12,783 ไร่

                  (ร้อยละ 6.88) พื้นที่เก็บเกี่ยว 11,613 ไร่ ผลผลิตรวม 1,861 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 160 กิโลกรัม เป็นต้น

                  (ตารางที่ 2-3)













                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72