Page 57 - mize
P. 57

3-27






                          การปรับเปลี่ยนพื้นที่ เพื่อทดแทนพื้นที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพาะปลูกในพื้นที่ป่าและพื้นที่

                  ไม่เหมาะสม กับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วิเคราะห์จากพื้นที่ความเหมาะสมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พบว่า
                  พื้นที่นาไม่เหมาะสม แต่เหมาะสมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีประมาณ 5.57 ล้านไร่ และพื้นที่นา
                  เขตชลประทานในฤดูแล้งที่เหมาะสมข้าวโพด เลี้ยงสัตว์มีประมาณ 7.74 ล้านไร่ อย่างไรก็ตาม

                  เมื่อพิจารณาปริมาณความต้องการและแผนการปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                  ตลอดจนการกระจายการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแล้ว ควรปรับเปลี่ยนพื้นที่นา
                  ไม่เหมาะสมแต่เหมาะสมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ จ านวนประมาณ 2.43 ล้านไร่
                  และเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่นาเขตชลประทานที่เหมาะสมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ านวน 2 ล้านไร่
                  เพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่าและพื้นที่ปลูกข้าวโพดที่ไม่เหมาะสมที่มีอยู่ในปัจจุบัน

                          การกระจายการผลิต เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตกระจุกตัว ความชื้นสูง คุณภาพต่ า และเกษตรกร
                  ขายผลผลิตได้ในราคาต่ า ควรปรับสัดส่วนพื้นที่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันให้ผลผลิตออกสู่
                  ตลาดสอดคล้องกับความต้องการของตลาดสัดส่วนพื้นที่ปลูกต้นฝน : ปลายฝน : แล้ง จาก 63 : 32 : 5

                  เป็น 37 : 36 : 27 โดยส่งเสริมการปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ดิน
                  และเสริมรายได้ในระบบการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                          ศักยภาพในการแข่งขันกับข้าว การพิจารณาวิเคราะห์ก าหนดแนวทางการปรับเปลี่ยนพื้นที่
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากพื้นที่ป่า และพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไปเพราะปลูกในพื้นที่นา

                  ไม่เหมาะสม แต่เหมาะสมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพื้นที่นาในเขตชลประทานหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
                  โดยทดแทนนาปรัง นั้นจ าเป็นต้องวิเคราะห์ผลตอบแทนว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นมีผลตอบแทนมากกว่า
                  หรือเท่ากับข้าวหรือไม่ เพื่อน าไปสู่การยอมรับของเกษตรในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ จากการวิเคราะห์
                  ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวจะเห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะให้

                  ผลตอบแทนดีกว่าการปลูกข้าว
                        3.2.6 แผนพัฒนาทรัพยากรที่ดิน
                            จากทิศทางการพัฒนาประเทศที่มุ่งใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรเพื่อตอบสนอง
                  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ท าให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ขาดความสมดุลระหว่าง

                  การใช้ประโยชน์กับการอนุรักษ์และฟื้นฟู จนส่งผลกระทบให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากร
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรที่ดิน ซึ่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมอีกประเทศหนึ่ง จึงมี
                  การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดินเพื่อท าการเกษตรมาตลอดอย่างต่อเนื่อง จนก่อให้เกิดปัญหาการใช้

                  ที่ดินและปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร ชุมชน
                  และประเทศชาติ กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีอ านาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
                            -  ศึกษา ส ารวจ จ าแนก วิเคราะห์ และวิจัยและที่ดิน ท าส ามะโนที่ดิน ติดตามสถานการณ์
                  สภาพการใช้ที่ดิน เพื่อก าหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน และเพื่อการพัฒนาที่ดิน
                            -  ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และให้ค าแนะน าเกี่ยวกับดิน น้ า พืช ปุ๋ย และอื่นๆ

                  ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน
                            -  ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดินแก่ส่วนราชการ
                  ที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62