Page 59 - mize
P. 59

บทที่ 4

                                                    เขตการใช้ที่ดิน



                         ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของประเทศ ผลผลิตมากกว่าร้อยละ 90 ใช้ใน
                  อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออก คิดเป็นมูลค่ารวมหลายหมื่นล้านบาทต่อปี
                  การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เพาะปลูกโดยอาศัยน้ าฝนในช่วงต้นฤดูฝน มีสัดส่วนการผลิต ช่วงต้นฝน
                  : ปลายฝน : แล้ง เป็นอัตราส่วน  72 : 23 : 5 ตามล าดับ ท าให้เกิดปัญหาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต้นฝน

                  ออกสู่ตลาดมากเกินก าลังการรับซื้อของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในช่วงดังกล่าว ผลผลิตมีคุณภาพต่ า
                  เมื่อเทียบกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในช่วงปลายฝนและช่วงฤดูแล้ง ท าให้ขายได้ในราคาต่ า อีกทั้ง
                  เกษตรกรมีการเพาะปลูกในพื้นที่เดิมซ้ าๆ โดยขาดการบ ารุงรักษาดิน ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ต่ า ต้นทุน
                  การผลิตสูงจนขาดความสามารถในการแข่งขัน และเสี่ยงต่อการขาดทุน

                        จากที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศลดต่ าลงจนส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทย ปัญหา
                  ดังกล่าวจ าเป็นต้องมีการวางแผนการผลิต และมีการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                  ให้อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทางด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต
                  ให้สูงขึ้นรวมทั้งลดต้นทุนการผลิตต่อพื้นที่ โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ

                  และสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบและทิศทางในการด าเนินการด้านการผลิต
                  และการตลาด ช่วยให้เกษตรกรสามารถแข่งขันได้ในภาวะการค้าเสรี ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้
                  อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2558

                  รวมไปถึงต้องสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายการปรับ
                  โครงสร้างด้านเศรษฐกิจของภาครัฐด้วย
                        จากเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพพืชเศรษฐกิจ
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง สาระส าคัญคือ การลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในป่า 3.26 ล้านไร่ พื้นที่
                  ไม่เหมาะสม (N) 0.82 ล้านไร่ รวม 4.08 ล้านไร่ โดยเพิ่มพื้นที่ปลูกในพื้นที่นาเขตชลประทานหลังการปลูกข้าว

                  2 ล้านไร่ ในปี 2569 พร้อมทั้งปรับสัดส่วนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (ให้ผลผลิต
                  ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความ ต้องการของตลาด สัดส่วนพื้นที่ปลูกจาก ต้นฝน : ปลายฝน : แล้ง 63 :
                  32 : 5 เป็น 37 : 36 : 27) และรักษาระดับพื้นที่ปลูกไว้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ประมาณ 6.50 ล้านไร่

                  การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมเป็นการ
                  ก าหนดเขตโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของที่ดินต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง และต้อง
                  สอดคล้องกับพื้นที่ปลูก หรือปริมาณผลผลิตตามความต้องการใช้ภายในประเทศ



















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง            กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64