Page 56 - mize
P. 56

3-26






                            ทิศทางการพัฒนาการเกษตรในระยะเวลา 5 ปี ข้างหน้าของร่างแผนพัฒนาการเกษตร

                  ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยังคงยึดหลักคน
                  เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต
                  ของเกษตรกรและผลักดันการประยุกต์ใช้ปรัชญาดังกล่าว ส่งเสริมเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดี

                  ทั้งเกษตรกรรายย่อยและเกษตรเชิงพาณิชย์ สามารถผลิตสินค้าเกษตรอย่างเพียงพอ มีความหลากหลาย
                  และมีคุณภาพตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ประชาชนสามารถ
                  เข้าถึงอาหารได้อย่างทั่วถึง รวมถึงประเทศไทยยังคงครองความสามารถในการค้าสินค้าเกษตร
                  และอาหารในระดับต้นๆ ของโลกไว้ มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ
                  ต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมียุทธศาสตร์ส าคัญของการพัฒนาการเกษตรในระยะ 5 ปี

                  ข้างหน้า ที่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งครอบคลุมการด าเนินงาน
                  ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (หลังนา) ดังนี้
                              1.1)  ยุทธศาสตร์พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร

                  และความมั่นคงด้านอาหาร ประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการผลิตทางการเกษตร
                  มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีการใช้ภูมิปัญญาแบบผสมผสานและสอดคล้องกับภูมิสังคมแต่ละ
                  ท้องถิ่น สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศและส่งออก สร้างรายได้
                  ให้กับประเทศมาตลอด ในขณะที่ประสิทธิภาพการผลิตต่ า แต่ต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งส่งผลกระทบ

                  ต่อผลผลิตทางการเกษตร ในส่วนของพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (หลังนา) การสร้างฐาน
                  การผลิตพืชถั่วเหลืองฤดูแล้งให้เข้มแข็ง เป็นฐานการผลิตของภาคการผลิตอื่นๆ ท าให้เกิดความมั่นคง
                  ในอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร การพัฒนาคุณภาพสินค้าถั่วเหลืองฤดูแล้งให้มีความสามารถในการ
                  แข่งขัน มีผลผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งเพียงพอกับความต้องการ จึงควรพัฒนาการผลิตและการสร้าง

                  มูลค่าเพิ่มพืชถั่วเหลืองฤดูแล้งด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และพัฒนา
                  คุณภาพมาตรฐานสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (หลังนา) โดยสนับสนุนการผลิตตามศักยภาพของพื้นที่
                  คงไว้ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์พืชถั่วเหลืองฤดูแล้งที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                  ของประเทศ

                              1.2)  ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน
                  ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรมีความส าคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตร เนื่องจากเป็นปัจจัย
                  การผลิตพื้นฐานในการท าการเกษตร เช่น ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรพื้นฐานที่สร้างปัจจัยการผลิตที่

                  จ าเป็นต่อการด ารงชีวิตมากมาย และปัจจุบันทรัพยากรที่ดินเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทั้งจากธรรมชาติ
                  และจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างและพัฒนาการใช้ทรัพยากรที่ดิน
                  อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อการผลิตพืชเศรษฐกิจข้าวโพด
                  เลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (หลังนา) เตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการ
                  เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามาส่วนร่วมในการบริหาร

                  จัดการทรัพยากร จึงมีการส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเร่งรัด
                  การฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม และวางระบบการใช้ที่ดินตามศักยภาพ
                        3.2.5  ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส าปะหลัง

                  ปาล์มน้ ามัน และอ้อย (พ.ศ. 2558-2569)





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61