Page 22 - mize
P. 22

2-10






                  กระแสไฟฟ้าจากพลังน้ า การคมนาคม แหล่งเพาะพันธุ์ประมงน้ าจืด แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

                  และอื่นๆ ในแต่ละโครงการมีงานก่อสร้างหลายประเภท เช่น เขื่อนเก็บกักน้ า เขื่อนหรือฝายทดน้ า การสูบน้ า
                  ระบบส่งน้ า ระบบระบายน้ า ระบบชลประทานในแปลงนา ถ้าเป็นการก่อสร้างประเภทเขื่อนเก็บกักน้ า
                  สามารถเก็บกักน้ าได้มากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมีพื้นที่อ่างเก็บน้ าตั้งแต่ 15 ตารางกิโลเมตร

                  หรือมีพื้นที่ชลประทานมากกว่า 80,000 ไร่ ซึ่งในปัจจุบันโครงการชลประทานขนาดใหญ่มีพื้นที่
                  ชลประทานรวม 17,966,566 ไร่ และพื้นที่รับประโยชน์รวม 175,000 ไร่
                            2) โครงการชลประทานขนาดกลาง หมายถึง โครงการชลประทานที่มีขนาดเล็กกว่า
                  โครงการชลประทานขนาดใหญ่ โดยต้องเป็นโครงการที่มีการจัดท ารายงานความเหมาะสมแล้ว
                  มีปริมาตรเก็บกักน้ าน้อยกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่เก็บกักน้ าน้อยกว่า 15 ตารางกิโลเมตร

                  หรือมีพื้นที่ชลประทานน้อยกว่า 80,000 ไร่ ซึ่งจะเป็นงานก่อสร้างอาคารชลประทานประเภทต่างๆ อาทิ
                  เขื่อนเก็บกัก เขื่อนทดน้ า ฝาย โรงสูบน้ า ระบบส่งน้ า และระบายน้ า ฯลฯ รวมทั้งงานก่อสร้างทาง
                  ล าเลียงผลผลิตและงานแปรสภาพล าน้ า ซึ่งในปัจจุบันโครงการชลประทานขนาดกลางมีพื้นที่

                  ชลประทานรวม 6,807,235 ไร่ และพื้นที่รับประโยชน์รวม 397,487 ไร่
                            3) โครงการชลประทานขนาดเล็ก หมายถึง งานพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กที่กรมชลประทาน
                  ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2520 เพื่อแก้ปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องน้ าส าหรับ
                  การอุปโภคบริโภคและการเกษตร ซึ่งเป็นความจ าเป็นขั้นพื้นฐานของราษฎรในชนบท หรือพื้นที่

                  ที่ห่างไกล รวมทั้งการแก้ไขบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยและน้ าเค็มที่ขึ้นถึงพื้นที่เพาะปลูก
                  โดยการก่อสร้างอาคารชลประทานขนาดเล็กประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและปัญหา
                  ที่เกิดขึ้นตามความต้องการของราษฎร ซึ่งในปัจจุบันโครงการชลประทานขนาดเล็กมีพื้นที่ชลประทานรวม
                  6,200,263 ไร่ และพื้นที่รับประโยชน์รวม 12,471,963 ไร่


                  2.5  การใช้ประโยชน์ที่ดิน

                        ข้าวโพด (Maize หรือ Corn, Zea mays L.) เป็นธัญพืชที่ก าเนิดขึ้นในประเทศเม็กซิโกและ
                  อเมริกากลาง การเลือกพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรเลือกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อการหักล้ม ต้านทาน
                  ต่อโรคทางใบ และโรคราน้ าค้าง มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 110-120 วัน ให้ผลผลิตเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์
                  การติดเมล็ดต่อฝักสูง

                        พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ (นางสมศรี และคณะ, 2551)
                          1) พันธุ์ลูกผสม เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดมีลักษณะ
                  ทางการเกษตรสม่ าเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหม และอายุเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิต

                  และคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด จึงเป็นที่ต้องการของตลาด แต่พันธุ์ลูกผสมยังมีข้อจ ากัด คือ
                  ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ท าพันธุ์ได้ พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ซีพีทีเค 888 พันธุ์ไพโอเนียร์ 3013 พันธุ์
                  แปซิฟิค 983 พันธุ์คาร์กิล 919 พันธุ์เทพีวีนัส 49 พันธุ์นครสวรรค์ 72 และพันธุ์สุวรรณ 3851
                          2) พันธุ์ผสมเปิด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ผสมเปิดเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะทางการเกษตร
                  ไม่สม่ าเสมอ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ลูกผสมแต่ต้านทานต่อโรคราน้ าค้าง และเมล็ดพันธุ์มีราคาถูกกว่า

                  พันธุ์ลูกผสม พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์สุวรรรณ 5 พันธุ์นครสวรรค์ 1 และพันธุ์สุวรรณ 1
                          3) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์แท้ ได้แก่ พันธุ์แท้นครสวรรค์ 1 และพันธุ์แท้นครสวรรค์ 2






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27