Page 17 - mize
P. 17

2-5






                  ปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝน

                  มากที่สุดของภาคใต้ อยู่บริเวณจังหวัดระนอง ซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร
                  ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อย ได้แก่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน ด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี บริเวณจังหวัด
                  เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์

                        2.2.4 ความชื้นสัมพัทธ์
                            ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี
                  เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงชัดเจน ในช่วงฤดูหนาว
                  และฤดูร้อน โดยเฉพาะฤดูร้อน จะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ าสุดในรอบปี ในบริเวณดังกล่าว
                  มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีร้อยละ 72-74 และจะลดลงเหลือร้อยละ 62-69 ในช่วงฤดูร้อน

                        2.2.5 อุณหภูมิ
                            อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะมี
                  ความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน บริเวณตั้งแต่ภาคกลาง

                  และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไป จนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว
                  และระหว่างกลางวันกับกลางคืน ส าหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้
                  ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาว
                  อากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน


                  2.3  ทรัพยากรที่ดิน

                        ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส าคัญเป็นแหล่งในการผลิตอาหารและเป็นรากฐานของ
                  ความเป็นอยู่ในการท ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เมื่อมีการใช้ทรัพยากรดินอย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ
                  กิจกรรมทางด้านการเกษตร ท าให้ทรัพยากรดินเกิดความเสื่อมโทรม ส่งผลให้ผลผลิตจากการเพาะปลูก

                  พืชที่ได้น้อยกว่าที่ควรจะได้รับ เนื่องจากใช้ทรัพยากรดินอย่างไม่เหมาะสม ขาดการปรับปรุงบ ารุงดิน
                  อย่างต่อเนื่อง
                        กรมพัฒนาที่ดิน ได้จ าแนกกลุ่มชุดดินส าหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจได้ทั้งหมด 62 กลุ่มชุดดิน
                  แต่ละกลุ่มชุดดินมีลักษณะและสมบัติที่เฉพาะตามปัจจัยการเกิดและการสร้างดิน การจ าแนก
                  จะพิจารณาจากลักษณะ ศักยภาพ และการจัดการที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน ตามลักษณะและคุณสมบัติ

                  ดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช สามารถจัด
                  หมวดหมู่ได้ 62 กลุ่มชุดดินโดยแบ่งตามสภาพที่พบได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
                          2.3.1 กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง

                              พบได้ทุกภาคของประเทศไทย เป็นกลุ่มชุดดินที่มีน้ าแช่ขังหรือมีระดับน้ าใต้ดินตื้น
                  การระบายน้ าค่อนข้างเลวถึงเลวมาก มีอยู่ 28 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และกลุ่มชุดดินที่ 57-59
                          2.3.2 กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง
                            สภาพพื้นที่พบในบริเวณที่อาจเป็นที่ราบเรียบ เป็นลูกคลื่น หรือเนินเขา พบในภาคเหนือ
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศ เป็นกลุ่มชุดดินที่ไม่มีน้ าแช่ขัง และมีระดับน้ าใต้

                  ดินลึก การระบายน้ าค่อนข้างดีถึงดีค่อนข้างมาก ประกอบด้วย 22 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28
                  29 30 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49 52 54 55 56 60 และ 61






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22