Page 15 - mize
P. 15

2-3






                  ร้อยละ 13.78 ของเนื้อที่ประเทศ จังหวัดที่ใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่เล็กที่สุด คือ

                  จังหวัดภูเก็ต ทุกจังหวัดของภาคมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา
                             ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างเขาหรือที่ราบชายฝั่งทะเล มีทะเล
                  ขนาบทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกติดอ่าวไทยและฝั่งทะเลตะวันตกติดทะเลอันดามัน สภาพพื้นที่

                  เป็นที่ราบ มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางน้อยกว่า 13 เมตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของภาคสูงกว่า
                  ทางฝั่งตะวันออก มีเทือกเขาที่ส าคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรีอยู่ด้านฝั่งทะเลตะวันตกทอดในแนว
                  เหนือ-ใต้ขนานกับฝั่งทะเล กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับเมียนมา เทือกเขาภูเก็ตทอดยาวต่อจาก
                  เทือกเขาตะนาวศรีเรื่อยไปจนถึงเกาะภูเก็ต ทางตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราชทอดใน
                  แนวเหนือ-ใต้ ทางด้านใต้ของภาคมีเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย

                  กับมาเลเซีย ฝั่งทะเลทั้งสองด้านนี้มีเกาะจ านวนมากโดยฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีเกาะที่ส าคัญๆ ได้แก่
                  เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า เป็นต้น ส่วนทางฝั่งทะเลด้านตะวันตก มีเกาะภูเก็ตซึ่งนับว่าส าคัญ
                  และใหญ่ที่สุดของประเทศ เกาะตะรุเตา เกาะลันตา และเกาะลิบง เป็นต้น


                  2.2  สภาพภูมิอากาศ

                        2.2.1 ลมมรสุม
                            ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุม
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ
                            -  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ระหว่าง

                  กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งก าเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลก
                  ใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลม
                  ตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะน ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศ

                  ไทย ท าให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับ
                  ลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
                            -  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
                  แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคม จะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย จนถึง
                  กลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งก าเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ แถบประเทศ

                  มองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งก าเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย
                  ท าให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้น าความชุ่มชื้นจากอ่าวไทย

                  เข้ามาปกคลุมการเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิดอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี
                        2.2.2 ฤดูกาล
                            ประเทศไทยโดยทั่วๆ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
                            -  ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น
                  ช่วงเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือ

                  หันเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะเดือนเมษายน บริเวณประเทศไทย มีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะใน
                  เวลาเที่ยงวัน ท าให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20