Page 10 - mize
P. 10
1-2
ถึงปัญหาและเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยเฉพาะการค้ากับต่างประเทศที่ผู้น าเข้าไม่รับซื้อผลิตภัณฑ์
ที่ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งจากพื้นที่ป่าเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปที่ใช้
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบอาจได้รับผลกระทบจากข้อกีดกันทางการค้า
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างผลผลิตและความต้องการใช้ จ าเป็นต้องมีการบริหารจัดการ
ด้านการผลิต และการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การกระจายระยะเวลา
การเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตในช่วงฤดูแล้ง โดยส่งเสริมปลูกในพื้นที่นาปรังเขตชลประทานที่เหมาะสม
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การเก็บเกี่ยว และการรักษาคุณภาพสู่เกษตรกร รวมถึงการจัดหาตลาด
รับซื้อในราคาที่เหมาะสมเพื่อจูงใจเกษตรกรให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาปรังมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมี
การบูรณาการการท างานระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่มีความส าคัญชนิดหนึ่ง จึงได้จัดท าเขต
การใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลหนึ่งในการบริหารจัดการที่เหมาะสม
รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการก าหนดบริเวณการใช้ที่ดินได้ให้ความส าคัญกับลักษณะ
ทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้น าไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อก าหนดบริเวณการใช้ที่ดินที่เหมาะสมทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม
ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง
1.2.2 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการก าหนดแผนงานและนโยบายทางด้านการปลูกพืชฤดูแล้ง
ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งจัดเป็นพืชทางเลือกหนึ่งที่ส าคัญ
1.2.3 เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการผลิตและการตลาดส าหรับการอุปโภค บริโภค
และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
1.3 ขอบเขตการด าเนินงาน
1.3.1 ระยะเวลาด าเนินงาน ตุลาคม 2562 ถึงกันยายน 2563
1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ
1.3.3 พืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการแปรรูป
เพื่อส่งออก
1.4 ขั้นตอนและวิธีด าเนินงาน
1.4.1 การรวบรวมข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทุติยภูมิที่น ามาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาและวิเคราะห์ก าหนดเขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง ประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนี้
1) ข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสม วิธีการปลูกและดูแลรักษา สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติผลผลิตและการค้า ต้นทุนการเพาะปลูก
ข้อมูลด้านการตลาดและการส่งออก การแปรรูปและการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ นโยบายรัฐบาลและ
แผนพัฒนาต่างๆ จากหน่วยงานราชการทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงองค์กรต่างๆ
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน