Page 9 - mize
P. 9

บทที่ 1

                                                         บทน า


                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        สภาวะเศรษฐกิจของโลกปัจจุบันเป็นไปในลักษณะของการแข่งขัน รวมทั้งการผลิตทางด้าน
                  เกษตรกรรมซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนการเตรียมพร้อม
                  เพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรมุ่งสู่มาตรฐานสากล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจ
                  ส าคัญในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

                  ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรเป็นยุทธศาสตร์
                  หนึ่งที่มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการเกษตร ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาดแบบครบวงจร
                  ส าหรับด้านการผลิต ปัจจัยการผลิตที่ส าคัญเบื้องต้น ได้แก่ ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลัก
                  มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรดินโดยการฟื้นฟูปรับปรุงบ ารุงดินให้มี

                  ความอุดมสมบรูณ์และมีศักยภาพในการผลิต ตลอดจนมีการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดิน
                  และน้ าเพื่อให้มีการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
                        ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของไทยที่มีการใช้บริโภคภายในประเทศและการ
                  ส่งออกมาอย่างยาวนาน แต่พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตภายในประเทศได้ลดลงไปมากจากหลายสาเหตุ
                  ในขณะที่ความต้องการผลผลิตเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบส าหรับอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
                  และใช้ส าหรับการบริโภคภายในครัวเรือนและเพื่อการส่งออกมีเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ไทยจึงต้องพึ่งพา

                  การน าเข้าจากต่างประเทศ แต่ก็ยังประสบปัญหาผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร
                  ในขณะที่เพื่อนบ้านของไทย คือ ลาว กัมพูชา แลเมียนมา ยังมีศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต และรัฐบาล
                  มีนโยบายส่งเสริมการผลิตพืชเพื่อการส่งออก กอปรกับการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
                  ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base)

                   จึงเป็นโอกาสของไทยในการขยายฐานการผลิตการค้าและการลงทุน เพื่อน าผลผลิตมาใช้ในการ
                  เสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนไทยได้ให้การรับรองแถลงการณ์ว่าด้วยความ
                  มั่นคงด้านอาหารของอาเซียน ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าวว่าด้วย (1) กรอบนโยบายบูรณาการความมั่นคง
                  ด้านอาหารของอาเซียน และ (2) แผนกลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนที่มุ่งให้มีความร่วมมือ
                  กันในการแก้ไขปัญหา และความเสี่ยงในการขาดแคลนอาหาร และการเข้าถึง ซึ่งอาหารของประชากร

                  ที่ส่วนใหญ่ยังยากจนในภูมิภาคอาเซียนความร่วมมือดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกประเทศของอาเซียน
                  จะต้องเร่งรัดพัฒนาการเพิ่มการผลิตอาหารในประเทศ และเปิดโอกาสให้มีการเข้าไปลงทุนการผลิต
                  และส่งเสริมการผลิตอาหารเพื่อความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาคอย่างยั่งยืน
                        เนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย ประมาณร้อยละ 95 อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยปลูกต้นฝนร้อยละ 70
                  ปลายฝนร้อยละ 25 และร้อยละ 5 ปลูกในช่วงฤดูแล้งในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ า ผลผลิตขึ้นกับปริมาณน้ า

                  ที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับในแต่ละช่วงการเพาะปลูก โดยเฉพาะในช่วงออกดอกติดฝัก หากได้รับน้ าในปริมาณ
                  ที่ไม่เพียงพอหรือกระทบแล้งในช่วงระยะการเจริญทางล าต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง ผลผลิตเฉลี่ย
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยอยู่ที่ 640-680 กิโลกรัมต่อไร่ ออกสู่ตลาดกระจุกตัวในช่วงเดือนสิงหาคม
                  ถึงธันวาคม ท าให้เกิดปัญหาราคาตกต่ าในช่วงดังกล่าวและเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้
                  พื้นที่ปลูกกว่าร้อยละ 50 อยู่ในเขตไม่เหมาะสม และอยู่ในพื้นที่ป่า ซึ่งหลายภาคส่วนได้ตระหนัก





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14