Page 70 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 70

2-54





                  ที่ผ่านมามีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2556 ปริมาณการส่งออก 338,169 ตัน คิดเป็นมูลค่า

                  30.2 ล้านดอลลาร์ หรือปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.21 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.73

                  ส่วนประเทศไทย ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาปริมาณการส่งออกและมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี กล่าวคือ ปี 2552
                  มีปริมาณการส่งออก 144,079 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7.1 ล้านดอลลาร์ ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น

                  252,904 ตัน ในปี 2556 คิดเป็นมูลค่า 18.0 ล้านดอลลาร์ หรือปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.03

                  และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.40 จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการส่งออกมะม่วงของประเทศเม็กซิโก และ

                  ประเทศไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศอินเดียมีแนวโน้มการส่งออกลดลง ซึ่งเป็นผลดี
                  ของการส่งออกมะม่วงของประเทศไทยเพราะในปัจจุบันนี้มีการปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกกันมาก

                  (ตารางผนวกที่ 1-10 ถึง 1-13  และรูปที่ 2-9 ถึง 2-12)

                            2.6.3  สถิติการค้ามะม่วง

                                 ในอดีตมะม่วงของไทยสามารถผลิตได้ในช่วงเวลาค่อนข้างจ ากัด บางปี
                  ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย แต่ปัจจุบันการพัฒนาพันธุ์และเทคนิคการผลิตต่างๆ ช่วยท าให้มีผลผลิตออกสู่

                  ตลาดได้ยาวนานขึ้น การตรวจคัดและควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดทั้งในส่วนของเกษตรกรและผู้ส่งออก

                  ตลอดจนเทคโนโลยีการเก็บรักษา และความรวดเร็วในการขนส่ง ช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐาน
                  และคุณภาพของมะม่วงประเทศไทยมากขึ้น ความนิยมในการบริโภคมะม่วงทั้งภายในประเทศและ

                  ต่างประเทศจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2556-2560 ปริมาณการบริโภค

                  ภายในประเทศลดลงทุกปี จาก 3,068,783 ตัน ในปี 2556 ลดลงเป็น 2,842,092 ตัน ในปี 2560 หรือ
                  ลดลงร้อยละ 7.98 การส่งออกลดลงจาก 73,167 ตัน ในปี 2556 เป็น 34,983 ตัน ในปี 2560  ยกเว้นปี 2557

                  ที่ปริมาณการส่งออกมะม่วงเพิ่มมากกว่าปกติ เป็น 88,965 ตัน (ตารางผนวกที่ 9) ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพ

                  อากาศแปรปรวน ท าให้การเจริญเติบโตของมะม่วงเปลี่ยนแปลงไป ไม่เอื้ออ านวยในการติดผล ส่งผล
                  ให้ผลผลิตในแหล่งปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกหลายแห่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปริมาณน้อย เช่น ปกติ

                  หลังราดสารพาโคลบิวทราโซล ใบสะสมอาหารสมบูรณ์ เกษตรกรจะต้องกระตุ้นให้มะม่วงออกดอก

                  แต่ปี 2557-2560 เกษตรกรยังไม่ได้กระตุ้นมะม่วงให้ออกดอก มะม่วงกลับออกดอกจ านวนมาก

                  แต่ดอกเล็ก ไม่สมบูรณ์ เพราะใบยังสะสมอาหารไม่เต็มที่ หรือในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ที่มะม่วง
                  นอกฤดูออกดอกและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมนั้น อากาศร้อนมาก

                  อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ท าให้ใบไหม้ เกิดการคายน ้าสูง ช่อดอกแห้ง มะม่วงจึงติดผลน้อย

                  และส่วนที่ติดมักกลายเป็นผลกะเทย เช่น มะม่วงในพื้นที่อ าเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จังหวัด

                  ขอนแก่นและจังหวัดอุดรธานี บางแห่งฝนทิ้งช่วงนาน มะม่วงนอกเขตชลประทานยืนต้นตาย เช่น
                  มะม่วงในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อายุ 8-10 ปี ยืนต้นตายประมาณร้อยละ 10-20 ของพื้นที่

                  นอกเขตชลประทาน บางแห่งฝนตกกระจายเป็นครั้งคราว มะม่วงออกดอกติดผลไม่สม ่าเสมอ เช่น






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75