Page 134 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 134

4-2






                                -  เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกมะม่วงเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยพบข้อจ ากัด

                  ด้านความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ของดินและด้านความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารของดิน ซึ่งข้อจ ากัด

                  ดังกล่าวสามารถปรับปรุงได้ไม่ยาก และค่าใช้จ่ายไม่สูง อย่างไรก็ตามจะมีค่าใช้จ่ายในการบ ารุงหรือ
                  ปรับปรุงส าหรับการปลูกมะม่วงสูงกว่าพื้นที่ในเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I)

                                -  สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันปลูกมะม่วง

                        4.1.3  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง ที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) มีหลักเกณฑ์

                  พิจารณาดังนี้
                              -    เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกมะม่วงเล็กน้อย ดินมีปัญหาข้อจ ากัดด้าน

                  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ของดินและด้านความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารของดินแล้ว ดินยัง

                  มีปัญหาเกี่ยวกับการระบายน ้า ดินตื้นพบกรวดหรือเศษหินที่พบในหน้าตัดดินซึ่งมีผลต่อการหยั่งลึก

                  ของรากพืช และมีพื้นที่ลาดชันตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป ซึ่งมีโอกาสเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้
                  ซึ่งข้อจ ากัดเหล่านี้หากต้องการแก้ไขจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงและแก้ไขยากกว่าพื้นที่ในเขตการใช้ที่ดิน

                  พืชเศรษฐกิจมะม่วงที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) และปานกลาง (Z-II)

                              -   สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบันปลูกมะม่วง

                  4.2  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง

                        จากหลักเกณฑ์ข้างต้นดังกล่าวสามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงทั้งประเทศ
                  ซึ่งครอบคลุม 4 ภาค รวมทั้งสิ้น 28 จังหวัด มีเนื้อที่รวม 708,181 ไร่ นอกจากนั้นในภาพรวมของการ

                  ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงต้องพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นเพื่อเพิ่มขีด

                  ความสามารถในการแข่งขันโดยก าหนดให้เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) ควรเพิ่มผลผลิตให้
                  ได้ 1,500 – 1,700 กิโลกรัมต่อไร่ เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) ควรเพิ่มผลผลิตให้

                  ได้ 900 – 1,100 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) ควรเพิ่ม

                  ผลผลิตให้ได้ 700 – 800 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้ได้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 – 20 (ตารางที่
                  4 – 1) และได้จ าแนกเขตการใช้ที่ดินรายภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง

                  และภาคตะวันออก โดยเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงในภาคเหนือประกอบด้วย 12 จังหวัด

                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด และภาคตะวันออก 3 จังหวัด (รูปที่ 4-1)

                  ซึ่งเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงของแต่ละเขตมีรายละเอียดดังนี้

                        4.2.1  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง ที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I)
                            เขตนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 308,518 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.56 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน

                  พืชเศรษฐกิจมะม่วงทั้งหมด มีผลผลิตในปัจจุบันเฉลี่ยระหว่าง 1,390.34 กิโลกรัมต่อไร่ ครอบคลุมพื้นที่

                  ในภาคต่างๆ ดังนี้



                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139