Page 129 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 129

3-51





                            9) ปัจจุบันเกษตรกรสามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนความรู้ได้ง่ายท าให้มีโอกาสในการพัฒนา

                  ต่างๆ เช่นการเปิดกว้างของตลาดอยู่เสมอ

                          10 ) เกษตรกรชาวสวนมะม่วงได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มในรูปแบบกลุ่มปรับปรุงคุณภาพ
                  ไม้ผล กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตมะม่วง เกิดเวทีเครือข่ายในการเชื่อมโยง

                  ข้อมูลทั้งด้านการผลิต ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงผู้ส่งออกและสถาบันวิชาการต่างๆ

                            จุดอ่อน

                            1) มะม่วงเป็นสินค้าที่ไม่สามารถเก็บไว้ในรูปผลผลิตได้นานเสียหายง่าย
                            2) ต้องพึ่งพาสภาพอากาศ ซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ ท าให้บางปีมีผลผลิตที่

                  ไม่แน่นอน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ปัญหาความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมีความรุนแรง

                            3) เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดการดูแลมะม่วงตามหลัก

                  วิชาการ  เห็นคนอื่นแต่งกิ่งมะม่วงก็ท าบ้าง เห็นเขาดึงใบอ่อนก็ดึงบ้าง แต่ไม่ดูเลยว่าต้นมะม่วงของเรา
                  พร้อมหรือเปล่า แต่จะด าเนินการตามๆ กัน โดยไม่ค านึงถึง

                  สภาพต้นมะม่วง

                            4) เกษตรกรหลายรายไม่มีความรู้ในการเลือกใช้สารราด เช่น โดนหลอกขายสารราดที่มี
                  เปอร์เซ็นต์ต ่าโดยจูงใจว่าของตนเองมีราคาถูก ท าให้ไม่สามารถควบคุมการแตกใบอ่อนของมะม่วงได้ ท า

                  ให้เสียเงิน และเสียโอกาส ที่ดีในการผลิตมะม่วงในปีนั้นๆ

                            5) เกษตรกรไม่ตะหนักถึงความส าคัญของการบริหารจัด การการดูแลรักษา ความปลอดภัย
                  ท าให้มีสารตกค้างในมะม่วง

                            6) ชาวสวนมะม่วงที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจบางรายยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหาร

                  จัดการแปลงปลูกมะม่วงที่ถูกต้อง

                             โอกาส
                            1) เนื่องจากมีตลาดต่างประเทศในการรองรับท าให้เกษตรกรไทยประสบความส าเร็จในการ

                  ผลิตมะม่วงเข้าสู่ตลาดตลอดทั้งปี

                            2) ตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกามีความต้องการบริโภคมะม่วงสูง
                            3) มะม่วงเป็นผลไม้ที่เป็นที่รู้จักและผู้บริโภคนิยมรับประทานกันทั่วโลก

                             ข้อจ ากัด

                            1) พื้นที่เพาะปลูกที่ให้ผล ปี 2559 ลดลงจากปี 2558 เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องท า

                  ให้เกษตรกรโค่นต้นมะม่วงที่มีอายุมากให้ผลผลิตน้อย และบางส่วนที่ยืนต้นตายจากภัยแล้งต่อเนื่อง ตั้งแต่
                  ปี 2558 เพื่อปลูกใหม่ รวมทั้งบางแหล่งผลิตมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่เกษตรเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134