Page 127 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 127

3-49





                  แผนงานหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทยให้สามารถด าเนินการได้บรรลุ

                  เป้าประสงค์ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ไว้ โดยมีกลยุทธ์หรือกิจกรรมหลัก

                  (ส านักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้, 2554ก) ดังนี้

                             1)  กลยุทธ์พัฒนาศักยภาพการผลิต โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มปริมาณผลผลิต
                  นอกฤดู พัฒนาการจัดการคุณภาพผลผลิตหลังเก็บเกี่ยว พัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ผลิตและ

                  เครือข่ายการผลิตการตลาด พัฒนาระบบฐานข้อมูลไม้ผล และเพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูป

                             2)  กลยุทธ์พัฒนาตลาดภายในประเทศ โดยเพิ่มประสิทธิภาพตลาดกลางในแหล่งผลิต

                  เพิ่มปริมาณการรวบรวมและจ าหน่ายผลผลิตคุณภาพผ่านสถาบันเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุน
                  การกระจายสินค้าไปยังจังหวัดนอกแหล่งผลิต รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทย และเพิ่มประสิทธิภาพ

                  การก ากับดูแลการน าเข้าผลไม้จากต่างประเทศ

                             3)  กลยุทธ์พัฒนาตลาดส่งออก โดยส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า
                  ในต่างประเทศของภาคเอกชน สนับสนุนการเปิดตลาดใหม่ สนับสนุนการรักษาและขยายตลาดเดิม

                  ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมผลไม้ไทยในต่างประเทศ แก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านกฎระเบียบการส่งออกหรือ

                  น าเข้า พัฒนาเครือข่ายการส่งออกและระบบโลจิสติกส์
                             4)  กลยุทธ์ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ โดยพัฒนาและแก้ไขปัญหา

                  ผลไม้ทั้งระบบให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และภาคเอกชน สนับสนุนการพัฒนาไม้ผลตาม

                  ยุทธศาสตร์จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ด าเนินการอื่นเพื่อป้องกันปัญหาและความเดือดร้อนให้แก่

                  เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และภาเอกชน สนับสนุนวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
                  การผลิต การแปรรูป การค้น การส่งออก และการบริหารจัดการผลไม้

                        3.4.7  ยุทธศาสตร์สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย

                             สมาคมชาวสวนมะม่วง มีพันธกิจในการพัฒนาเชื่อมโยงเครือข่ายชาวสวนมะม่วงทั่ว

                  ไทยให้เป็นหนึ่งเดียวในการผลิตมะม่วงคุณภาพระดับสากลเพื่อผู้บริโภคในและต่างประเทศ โดยมุ่งมั่น
                  ในหลักธรรมาภิบาลและความยั่งยืน เพื่อเป็นผู้น าองค์กรชาวสวนที่มีความเข้มแข็งของประเทศ ทั้งนี้

                  ก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงจะเป็นอีกหนึ่งแผนงานที่ช่วยท าให้สามารถผลิตมะม่วงคุณภาพ

                  ระดับสากล โดยสมาคมฯ ได้ก าหนดยุทธศาสตร์ไว้ (สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย, 2554ก) ดังนี้
                             1)  ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งของสมาชิกและองค์กร พัฒนาให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว

                  ทั้งความสมานสามัคคี ความรู้ ความสามารถในการจัดการจากสวนจนถึงผู้บริโภค การจัดการองค์กร

                  การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
                             2)  ยุทธศาสตร์การพัฒนาผลผลิต พัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ

                  การผลิตที่มีความปลอดภัย






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132