Page 100 - longan
P. 100

4-18




                  4.3  การขับเคลื่อนแผนตามเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจลําไย

                        เพื่อใหการกําหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจลําไยบรรลุเปาหมาย จึงจําเปนตองมีมาตรการ
                  รองรับดานการบริหารจัดการ ทั้งการพัฒนาดานการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอยางมี

                  ประสิทธิภาพ สําหรับการพัฒนาดานการเกษตรเปนการพัฒนาโดยการเพิ่มศักยภาพการผลิต เพื่อเพิ่ม
                  ผลผลิตตอไรในแตละเขตตามความเหมาะสมของที่ดิน พรอมทั้งเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการ
                  ทรัพยากรดินเพื่อนําไปสูการปฏิบัติจริง ซึ่งหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบควรนําแนวทางดังกลาวไป
                  ดําเนินการแกไขปญหาแบบบูรณาการในแตละพื้นที่ เนื่องจากแตละพื้นที่มีปญหาที่แตกตางกัน จึงควร

                  เลือกพื้นที่นํารองในการพัฒนา และแกไขแตละปญหาใหสําเร็จ แลวจึงขยายผลไปสูพื้นที่ใกลเคียงที่มี
                  ปญหาในลักษณะเดียวกัน เพื่อใหการพัฒนาครอบคลุมพื้นที่เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจลําไยไดเร็วยิ่งขึ้น
                  จนสามารถนําไปใชรวมกับการจัดทําแผนพัฒนาเพื่อเสริมนโยบายของรัฐดานอื่นได
                        ทั้งนี้ควรเรงปรับปรุง หรือผลักดันการออกกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตรให

                  เกิดผลในทางปฏิบัติอยางมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ภายใตกรอบการปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อ
                  ตอการปรับโครงสรางทางเศรษฐกิจ การแกไขปญหาความยากจน ทั้งดานเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดลอม
                  ทรัพยากรธรรมชาติ และการบริหารจัดการไปพรอม ๆ กัน

                        4.3.1 มาตรการดานการบริหารจัดการผลผลิต
                            รัฐบาลควรใหความสําคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตรจากการกําหนดเขตการใชที่ดิน

                  พืชเศรษฐกิจลําไยใหประสบผลสําเร็จ เพื่อใชเปนกรอบและทิศทางใหหนวยงานที่เกี่ยวของดําเนินการ
                  ปฏิบัติอยางเปนรูปธรรมในการที่จะผลิตลําไยใหสอดคลองกับความตองการตลาด ซึ่งจะสงผลให
                  เกษตรกรมีรายไดอยางยั่งยืน โดยควรมีการดําเนินการดังนี้
                             1) ถายทอดองคความรูและเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพลําไยทั้งในและนอกฤดู ให

                  สามารถผลิตไดคุณภาพสูงและตนทุนต่ํา
                             2) กําหนดพื้นที่ที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจสําหรับการปลูกลําไย (Zoning) โดยคํานึงถึง
                  แหลงรับซื้อ โรงรมฯ หรือโรงงานฯ โดยแบงออกเปนพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกลําไยเพื่อการผลิต

                  สงออกและผลิตลําไยคุณภาพสูงจําหนายในประเทศ และการผลิตจําหนายในประเทศ เพื่อลดปญหาใน
                  เรื่องการขนสงและผลผลิตเกินความตองการ ตลอดจนกําหนดพื้นที่ที่ไมเหมาะสมในการปลูกลําไยควร
                  สนับสนุนใหปรับเปลี่ยนการใชประโยชนที่ดินเปนการผลิตสินคาชนิดอื่นแทน
                             3) สงเสริมการผลิตตามมาตรฐาน GAP และ เกษตรอินทรีย รวมทั้งตรวจสอบและใหการ
                  รับรอง จัดหาปจจัยพื้นฐานที่จําเปน เชน แหลงระบบน้ํา การพัฒนาเสนทางโลจิสติกส ตลอดจนการวิจัย

                  และพัฒนาในดานตาง ๆ
                             4) สงเสริมและพัฒนาการผลิตตามมาตรฐานสินคาเกษตรลําไย เกษตรกรและโรงรมฯ
                  หรือโรงงานฯ ตองรวมมือกันในการวางแผนการผลิตและการรับซื้อใหสอดคลองกับความตองการใน

                  ลักษณะของการทําสัญญาขอตกลง (Contract Farming) อยางจริงจัง และตองไมรับซื้อผลผลิตจาก
                  เกษตรกรที่ไมมีสัญญาขอตกลง











                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจลําไย                                กองนโยบายและวางแผนการใชที่ดิน
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105