Page 236 - durian
P. 236

ผ-8





                       1)  จดบันทึกวันที่ดอกทุเรียนบานของแต่ละพันธุ์ และแต่ละรุ่น

                       2)  ท าเครื่องหมายรุ่นไว้ในขณะที่มีการโยงกิ่งด้วยเชือก และควรใช้สีที่แตกต่างกันในการโยงกิ่ง

                     แต่ละรุ่น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการตัดทุเรียนที่แก่มีคุณภาพดี

                       6.3 วิธีการเก็บเกี่ยว
                         การตัดผลทุเรียน ควรตัดเหนือปลิงของก้านผลด้วยมีดคมและสะอาด และส่งผลทุเรียนลงมา

                     จากต้นเพื่อให้คนที่รอรับอยู่ด้านล่างบริเวณโคนต้น ระวังอย่าให้ผลตกกระทบพื้น วิธีที่นิยมใช้ในการ

                     เก็บเกี่ยว คือ การใช้เชือกโรยหรือใช้กระสอบป่านตระหวัดรับผล
                         ห้ามวางผลทุเรียนลงบนพื้นดินในสวนโดยตรง เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของ

                     โรคผลเน่าติดไปกับผลทุเรียน และควรท าความสะอาด คัดคุณภาพ คัดขนาดก่อนจ าหน่าย


                     7. โรคที่ส าคัญและวิธีการก าจัด

                       ศัตรูที่ส าคัญของทุเรียนในระยะต้นเล็กซึ่งมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขา ได้แก่ โรครากเน่า
                     โคนเน่า โรคราใบติด โรคราสีชมพู เพลี้ยไก้แจ้ และปัญหาส าคัญ คือวัชพืช ควรใช้หลายๆ วิธี

                     ประกอบกัน ทั้งการใช้แรงงานถอน ถาก ตัดด้วยเครื่องมือหรือใช้สารเคมี โดยต้องระมัดระวังอย่าให้

                     ระบบรากกระทบกระเทือนและระวังไม่ให้ละอองสารเคมีก าจัดวัชพืชสัมผัสกับต้นทุเรียน

                       7.1 โรคจากเชื้อราไฟทอฟธอรา
                         1.1 โรคเข้าท าลายใบ ให้พ่นสารเมตาแลกซิล หรืออีฟอไซท์อลูมินั่ม หรือกรดฟอสฟอรัส

                     ให้ทั่วทั้งภายในและนอกทรงพุ่ม

                         1. 2 โรคที่ระบบราก ใช้สารเมตาแลกซิลราดใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว พร้อมกับกระตุ้นการเจริญของราก
                         1.3 โรคที่ล าต้นและกิ่ง ถ้าอาการเล็กน้อย ให้ขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกน าไปเผา

                     ท าลาย แล้วทาด้วยปูนแดง หรือ สารเมตาแลกซิล ถ้าพบอาการรุนแรง ใช้กรดฟอสฟอรัส ฉีดเข้า

                     ล าต้น หรือกิ่งในบริเวณตรงข้าม หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค
                       7.2 โรคใบติด พบอาการเล็กน้อยให้ตัดเผาท าลาย หากอาการรุนแรงให้พ่นด้วยสารคาร์เบนดาซิม

                       7.3 เพลี้ยไก่แจ้ เมื่อพบยอดทุเรียนถูกท าลายมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดหรือพบไข่บนยอด

                     มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ให้พ่นด้วยสารแลมป์ดา ไซฮาโลทริน หรือคาร์บาริลหรือไซเปอร์เมทริน/

                     โฟซาโลน ทุก 7 ถึง 10 วันจนใบแก่

                       7.4 ไรแดง พ่นสาร โพรพาไกต์ สลับกับสารเอกซีไทอะซอกซ์
                       7.5 หนอนเจาะผล พ่นด้วยสารสะเดา หรือสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน หรือคาร์โบซัลแฟน หรือ

                     ไซเพอร์เมทรินและโฟซาโลน แต่ต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241