Page 68 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว 2566
P. 68

3-12






                              (9) ปริมาณผลผลิตมะพร้าวผลภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้เป็น

                                             ์
                                                   ื่
                  วัตถุดิบเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑกะทิเพอการส่งออก ทำให้ต้องนำเขามะพร้าวผลจากต่างประเทศมาใช้
                                                                          ้
                  เป็นวัตถุดิบ ซึ่งผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายและภาษีนำเขาที่สูง
                                                                       ้
                            2) ข้อจำกัด
                              (1) ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมี และยาปราบวัชพืช ตลอดจนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคา
                  สูงขึ้น ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
                  ทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับต่างประเทศได้ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และ
                  ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตมะพร้าวที่สำคัญ
                              (2) ในบางพื้นที่ของภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัด

                  เพชรบุรี จังหวัดราชบุรี (ติดอ่าวไทย) และจังหวัดชลบุรี มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำลงจากในอดีต ส่งผลต่อ
                  การเจริญเติบโตของมะพร้าว
                              (3) การผลิตและการส่งออกของผู้ผลิตมะพร้าวรายใหญ่ในโลก เช่น ประเทศอินเดีย

                  ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้ราคามะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวมีการแกว่งขึ้นลง
                              (4) อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้มะพร้าวซึ่งเป็นพืชเขตร้อนที่เจริญเติบโตได้ดี
                  ในอุณหภูมิที่อยู่ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้มะพร้าวเจริญเติบโตช้าลง
                  ผลมะพร้าวมีขนาดเล็กลงและคุณภาพของผลมะพร้าวลดลง

                              (5) มะพร้าวต้องการปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,500-2,500 มิลลิเมตร หากปริมาณ
                  น้ำฝนลดลงหรือมากเกินไปจะทำให้มะพร้าวขาดน้ำหรือน้ำท่วม ซึ่งอาจทำให้มะพร้าวตายหรือเกิดโรคได้
                              (6) การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอาจทำให้โรคและแมลงศัตรูพืชแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น
                  ซึ่งอาจทำให้มะพร้าวเสียหายได้

                              (7) การเปิดตลาดเสรีทางการค้า (AFTA) ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวได้รับ
                  ผลกระทบในหลายด้าน เนื่องจากมะพร้าวจากประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถเข้ามาสู่ตลาดประเทศ
                  ไทยได้อย่างเสรี ส่งผลให้ราคามะพร้าวในประเทศลดลง กระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว
                              (8) พื้นที่ที่เคยใช้ปลูกมะพร้าวอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปใช้ในกิจกรรมอื่น เช่น การ

                  ก่อสร้างอาคารพาณิชย์หรือที่อยู่อาศัย เป็นผลมาจากความต้องการของการพัฒนาเมืองหรือเศรษฐกิจ
                              (9) ความต้องการของตลาดสามารถเปลี่ยนไปตามเทรนด์และความต้องการของ
                  ผู้บริโภค ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในการบริโภคมะพร้าวหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากมะพร้าว อาจทำให้เกิด

                  การปรับปรุงรูปแบบการปลูกและผลิตได้ในอนาคต
                              (10) การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการผลิตทางการเกษตร ทั้งในและนอกเขตพื้นที่ปลูก
                  มะพร้าวอาจส่งผลให้เกิดการลดลงของพื้นที่ปลูกมะพร้าว
                              (11) ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมบริโภคของคนไทย อาจส่งผลให้มี
                  การเปลี่ยนแปลงในการบริโภคมะพร้าว

                              (12) มีการกำหนดมาตรฐานและข้อกำหนดทางกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น เช่น มาตรฐาน
                  สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ : มะพร้าวน้ำหอม (มกอช. 15-2550) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย
                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้นสำหรับมะพร้าวน้ำหอม โดยมีการกำหนดขนาด

                  ของผลมะพร้าวน้ำหอม และเงื่อนไขการจัดประเภทคุณภาพสำหรับผลมะพร้าวน้ำหอมที่ผลิตในประเทศไทย





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                      กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73