Page 65 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว 2566
P. 65

3-9






                  3.4  ศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัดในการผลิตและการตลาด

                        มะพร้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและ
                  ความเป็นอยู่ของคนไทย โดยมีการใช้ทั้งบริโภคเป็นอาหารโดยตรงและแปรรูปเพื่อใช้ประกอบอาหาร

                  ทั้งคาวหวานหลายรูปแบบตลอดจนถึงเพื่อใช้ในการอุปโภค โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการบริโภค
                  ภายในประเทศ ส่วนที่เหลือใช้ในรูปของอุตสาหกรรมหรือส่งออกต่อไป อีกทั้งมะพร้าวได้ถูกจัดว่าเป็น
                  หนึ่งใน Superfood จึงได้รับอานิสงส์และทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าวได้รับความนิยมใน
                  ตลาดโลก ส่งผลให้ความต้องการมะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างมาก แต่กลับไม่

                  สอดคล้องกับเนื้อที่เพาะปลูกมะพร้าวในโลกที่มีปริมาณลดลง จาก 74.94 ล้านไร่ ในปี 2555 ลดลงเหลือ
                  70.68 ล้านไร่ ในปี 2564
                        ในส่วนของตลาดอุตสาหกรรมมะพร้าวไทย พบว่า มีโอกาสในการเติบโตในอนาคตจากความ
                  ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์มะพร้าวแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะพร้าวไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

                  ขณะที่ผลิตภัณฑ์มะพร้าวแปรรูปอื่น ๆ เช่น กะทิ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารมีแนวโน้มเติบโต
                  อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบมะพร้าวไทยอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงใน
                  อุตสาหกรรมมะพร้าวไทยได้ ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าวเป็นไปอย่าง
                  เหมาะสม จึงต้องพิจารณาถึงศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัดในการผลิตและการตลาด เพื่อเป็นข้อมูลใน

                  การพิจารณาวางแผนการผลิต ดังรายละเอียดผลการศึกษาต่อไปนี้

                        3.4.1 โอกาสในการพัฒนาการผลิตและการตลาดของมะพร้าว
                            1) จุดแข็ง
                              (1) ประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้าว เนื่องจากมีสภาพภูมิ
                  ประเทศ สภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำ และทรัพยากรดินที่มีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกมะพร้าว

                  รวมทั้งยังสามารถขยายพื้นที่ปลูกได้อีกมากในพื้นที่รกร้าง
                                                                                   ื่
                              (2) ประเทศไทยมีมะพร้าวพันธุ์ที่ดีเหมาะแก่นำมาเพาะปลูกเพอการบริโภคและแปรรูป
                              (3) มะพร้าวเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งอุปโภคและบริโภค อีกทั้ง

                  ยังสามารถแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากมายในอุตสาหกรรมหลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่ม
                  อุตสาหกรรมมะพร้าวใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น อุตสาหกรรมเนื้อ
                  มะพร้าวแห้ง อุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวฝอยอบแห้ง
                  และอุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว และผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใย
                  มะพร้าว อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมเผาถ่านจากกะลามะพร้าว และอุตสาหกรรมแปรรูป

                  มะพร้าว เป็นต้น
                              (4) มะพร้าวเป็นพืชที่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี มีช่วงอายุให้ผลผลิตที่ยาว ช่วงเวลาการเก็บ
                  รักษาได้นาน

                              (5) ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้ามะพร้าวติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก โดย
                  ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตมะพร้าวอันดับที่ 10 ของปริมาณการผลิตมะพร้าวทั้งโลก และเป็นผู้
                  ส่งออกอันดับ 3 ของปริมาณการส่งออกมะพร้าวทั้งโลก รองจากประเทศฟิลิปปินส์และประเทศ
                  อินโดนีเซีย เนื่องจากมะพร้าวของไทยเป็นมะพร้าวที่มีคุณภาพและมีจุดเด่นในเรื่องของรสชาติหอม







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                      กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70