Page 67 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว 2566
P. 67

3-11






                                                                                                     ิ
                              (6) ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติและปลอดสารพษ
                  ซึ่งผู้ผลิตมะพร้าวสามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณของผลผลิต
                  มะพร้าวให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสมต่อไป
                              (7) การเพิ่มการผลิตมะพร้าวในประเทศสามารถช่วยลดการนำเข้ามะพร้าวจาก

                  ต่างประเทศ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในประเทศ
                              (8) ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริม พัฒนา และแก้ไขปัญหาการผลิต
                  มะพร้าว ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยมีคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพช
                                                                                                     ื
                                                                 ื่
                  กำกับดูแล และให้ความเห็นชอบ “ยุทธศาสตร์มะพร้าวเพออุตสาหกรรม พ.ศ. 2560-2579” เพื่อให้การ
                  พัฒนาการผลิตมะพร้าวของประเทศไทยมีความสอดคล้องและเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรรวมทั้ง

                  อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว
                              (9) การยอมรับและความเชื่อมั่นในการบริโภคน้ำมันมะพร้าวของโลกเปลี่ยนไป
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Virgin Coconut Oil ซึ่งเป็นน้ำมันพืชที่ยอมรับว่าเป็นน้ำมันอินทรีย์ที่อุดมด้วย

                  วิตามิน E Free-Fatty Acid ต่ำ ไม่หนืด คงสภาพยาวนานและมีผลดีต่อสุขภาพ

                        3.4.2 ข้อจำกัดในการพัฒนาการผลิตและการตลาดของมะพร้าว
                            1) จุดอ่อน
                              (1) ต้นมะพร้าวส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เพาะปลูกในประเทศไทย เป็น
                  ต้นมะพร้าวที่มีอายุมากและสวนเสื่อมโทรม เนื่องจากในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกมะพร้าว

                  ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทน
                  เนื่องจากปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าว เช่น แมลงดำหนาม หนอนหัวดำ เป็นต้น
                              (2) การป้องกันแมลงศัตรูมะพร้าวทำได้ยาก เนื่องจากมะพร้าวมีอายุมากและต้นสูง
                  ระยะเวลาในการป้องกันกำจัดที่เหมาะสมได้ผลอยู่ในช่วง 6 เดือน คือ เดือนตุลาคมถึงมีนาคมเท่านั้น

                              (3) ระยะเวลาการให้ผลผลิตครั้งแรกของมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองต้นสูงใช้เวลานาน (7 ปี)
                              (4) การปลูกมะพร้าวในพื้นที่เดิม ๆ เป็นเวลานาน จะทำให้ดินสูญเสียธาตุอาหารและ
                  ความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งเกษตรกรบางส่วนขาดการปรับปรุงบำรุงดินทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง

                  เมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่น ทำให้เกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูงกว่า
                              (5) มะพร้าวต้องการน้ำในปริมาณเพียงพอเพอให้ผลผลิตมีคุณภาพ การขาดน้ำหรือน้ำท่วม
                                                                   ื่
                  สามารถทำให้พืชมะพร้าวเจริญเติบโตช้าลงและปริมาณผลผลิตลดลงได้
                              (6) คุณภาพผลผลิตมะพร้าวขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สายพันธุ์ สภาพดินฟ้าอากาศ
                  การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว เป็นต้น เกษตรกรจึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการการผลิตอย่าง

                  เหมาะสม เพื่อผลิตมะพร้าวที่มีคุณภาพดี
                              (7) ขาดแคลนต้นพันธุ์มะพร้าวพันธุ์ดี ที่ให้ผลผลิตดกและต้นเตี้ย เนื่องจากมะพร้าวที่
                  ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไทยต้นสูงให้ผลผลิตน้อย

                              (8) การแปรรูปมะพร้าวในระดับวิสาหกิจชุมชนมีน้อยและไม่ดึงดูดผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่
                  แล้วเป็นผู้ประกอบการแปรรูปเจ้าใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 90 ของตลาดมะพร้าว









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                      กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72