Page 13 - beans
P. 13

1-3





                      คุณประโยชน์ของพืชตระกูลถั่วต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านความสามารถในการตรึงไนโตรเจน

                  จากอากาศลงดิน เป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้กับดินได้โดยไม่ท้าให้ดินเสื่อมสภาพ เปรียบเหมือนการ

                  ใส่ปุ๋ยเคมีในดิน ซึ่งจะน้าไปสู่การท้าเกษตรแบบยั่งยืนได้ รวมทั้งเป็นการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกใน
                  บรรยากาศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บรรเทาการเกิดฝุ่นละออง และมลพิษสิ่งแวดล้อมอื่น

                  ๆ กล่าวได้ว่าการส่งเสริมการผลิตถั่ว ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายใน

                  และต่างประเทศ นอกจากจะส่งเสริมรายได้เข้าประเทศแล้ว ยังสนับสนุนการบรรลุข้อตกลงระหว่าง
                  ประเทศ 3 ด้าน ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และความ

                  เสื่อมโทรมของดิน
                      นอกจากนี้ ปัจจุบันมีกรอบข้อตกลงความเข้าใจและความคืบหน้าส้าหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ

                  ภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership:

                  CPTPP) เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้าง
                  มาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทาง

                  ปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุน
                  ต่างชาติ โดยที่กรอบข้อตกลง CPTPP จะน้าไปสู่การแก้ไขกฎหมายด้านการเกษตร มีความเกี่ยวข้องกับ

                  สิทธิของเกษตรกรในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เพื่อการเพาะปลูก ที่อาจส่งผลท้าให้เกษตรกรทั่วประเทศไม่

                  สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกได้ และจะต้องซื้อผ่านบริษัทด้านอุตสาหกรรมเกษตรเท่านั้น ซึ่ง
                  จะเป็นการซ้้าเติมเกษตรกรในภาวะเศรษฐกิจและราคาพืชผลที่ตกต่้า จะยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้้าใน

                  สังคมไทยให้มากขึ้นไปอีก

                      รายงานการศึกษาการก้าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชตระกูลถั่ว (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วลิสง)
                  ฉบับนี้ เป็นผลจากการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการผลิตพืชตระกูลถั่ว 3 ชนิด

                  ดังกล่าว ทั้งปัจจัยเชิงกายภาพด้านภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจและสังคม
                  ทั้งด้านผลผลิตและผลตอบแทน โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลดิน เกี่ยวกับลักษณะและคุณภาพ

                  ชั้นดินและความเหมาะสมของดินต่อการเพิ่มผลผลิตถั่ว ร่วมกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการที่

                  เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579) นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
                  และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570) แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                  ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566–2570) และแผนปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
                  พืชตระกูลถั่วของประเทศ ประมวลเป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อปรับปรุงบ้ารุงดินประกอบการก้าหนด

                  เขตการใช้ที่ดินพืชตระกูลถั่วอย่างเหมาะสม









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจพืชตระกูลถั่วฤดูแล้ง (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง)            กองนโยบานและแผนการใช้ที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18