Page 14 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 14

2-2





                            ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ยกตัวสูงเป็นขอบอยู่ทางทิศตะวันตก

                  และทางทิศใต้ มีภูเขาขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไปของภาค พื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีชื่อเรียกว่า
                  ที่ราบสูงโคราช โดยมีขอบสูงทางทิศตะวันตก และทิศใต้ และค่อยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ าโขง
                  บริเวณตอนในค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมีทิวเขาเตี้ยๆ เรียกว่า ทิวเขาภูพาน และมีภูเขากระจัด

                  กระจายไม่เป็นทิวเขา ท าให้ลักษณะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบใหญ่ 2 ตอน
                  คือ แอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช ซึ่งพื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็น
                  จ านวนมาก

                        2.1.3 ภาคกลาง
                            ภาคกลางมีเนื้อที่รวมประมาณ 43,450,440 ไร่ ประกอบด้วย 18 จังหวัด และ 1 เขตการปกครอง
                  พิเศษ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์

                  พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี
                  สุพรรณบุรี อ่างทอง และเขตการปกครองพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร
                            ภูมิประเทศของภาคกลางส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากแม่น้ าพัดพาเอาเศษหิน
                  เศษดิน กรวด ทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมาเป็นเวลานาน มีลักษณะลาดลงมาทางทิศใต้ พื้นที่ราบ
                  ส่วนใหญ่มีความสูงโดยประมาณน้อยกว่า 80 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ภูมิประเทศตอนบนของ

                  ภาคกลางเป็นที่ราบลูกฟูก มีภูเขาเป็นแนวต่อเนื่องจากภาคเหนือ เข้ามาถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัด
                  พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ส่วนพื้นที่ตอนล่างของภาคนั้นเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ าเจ้าพระยา ซึ่ง
                  เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ าปิง วัง ยม และแม่น้ าน่าน นอกจากแม่น้ าเจ้าพระยาแล้ว ตอนล่างของภาค

                  ยังมีแม่น้ าไหลผ่านอีกหลายสาย บริเวณนี้จึงเป็นที่ราบกว้างขวางซึ่งเกิดจากดินตะกอน หรือดินเหนียวที่
                  แม่น้ าพัดพามาทับถมกันเป็นเวลานาน จึงเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกมาก
                        2.1.4 ภาคตะวันออก

                            ภาคตะวันออก มีเนื้อที่รวมประมาณ 21,487,812 ไร่ ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
                  จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว
                            ภูมิประเทศของภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขา แนวเทือกเขา ที่ราบแคบๆ

                  และชายฝั่งทะเล ฝั่งทะเลของภาคตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่งที่ส าคัญ เช่น เกาะช้าง
                  เกาะหมาก และเกาะกูด อยู่ในเขตจังหวัดตราด เกาะเสม็ด และเกาะมันใน อยู่ในเขตจังหวัดระยอง เกาะ
                  ล้าน และเกาะสีชัง อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจังหวัดที่ไม่ติดกับทะเล ได้แก่ จังหวัด
                  ปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ถึงแม้ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกจะเป็นพื้นที่ราบแคบๆ แต่
                  สภาพพื้นที่ก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะส าหรับการปลูกไม้ผลที่ส าคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน เงาะ

                  มังคุด และลองกอง เป็นต้น
                        2.1.5 ภาคใต้

                            ภาคใต้ มีเนื้อที่รวมประมาณ 44,196,992 ไร่ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่
                  ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี
                            ภูมิประเทศของภาคใต้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างเขา หรือ
                  ที่ราบชายฝั่งทะเล มีทะเลขนาบทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกติดอ่าวไทย และฝั่งทะเลตะวันตก







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19