Page 16 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 16
2-4
ตกชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคม และมักมีฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก การเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่าก าหนด
ได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์
3) ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนาน 1-
2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรือ
อาจยังมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไป ซึ่งจะหมดฝนและเริ่มมี
อากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.2.3 ปริมาณน ้าฝน
จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (2562) ระหว่างปี 2533-2562 ปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยตลอด
ปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือมีค่า 1,254.4 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่า 1,437.7 มิลลิเมตร
ภาคกลางมีค่า 1,202.5 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกมีค่า 1,961.5 มิลลิเมตร และภาคใต้มีค่า 2,384.1
มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตาม
ฤดูกาล บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะ
เพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณฝนมาก
ที่สุดในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณอ าเภอทองผาภูมิ จังหวัด
กาญจนบุรี และภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด โดยเฉพาะที่
อ าเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากถึง 4,906.5 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อย
ส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดล าพูน ล าปาง และแพร่
พื้นที่ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมา และภาค
กลาง ส าหรับภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้
ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วง
ฤดูฝน โดยมีปริมาณ ฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณ ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก มี
ปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่บริเวณ
จังหวัดระนองซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากถึง 4,190.2 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อย ได้แก่ ภาคใต้
ฝั่งตะวันออกตอนบนด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รูปที่ 2-1)
2.2.4 ความชื นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นอัตราส่วนของจ านวนไอน้ าที่มีอยู่ในอากาศต่อจ านวนไอน้ า
ที่อาจมีได้จนอิ่มตัวเต็มที่ในอากาศเดียวกันนั้น ความชื้นสัมพัทธ์จึงก าหนดเป็นเรือนร้อยโดยให้จ านวน
ความชื้นที่อิ่มตัวเต็มที่เป็น 100 ส่วน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศร้อนชื้น
ปกคลุมเกือบตลอดปี เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปความชื้นสัมพัทธ์
จะลดลงชัดเจนในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน โดยเฉพาะฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ าสุด
ในรอบปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน