Page 11 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 11

1-3





                        1.4.2 กำรรวบรวมข้อมูลทำงด้ำนเศรษฐกิจและสังคม

                            ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคมได้จากการรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)
                  และทุติยภูมิ (secondary data) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                             1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) รวบรวมข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้

                  วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (questionnaire) และเลือกกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร
                  จากเทคนิคการสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ตามข้อมูลเชิงพื้นที่ของกรมวิชาการเกษตร
                  กรมส่งเสริมการเกษตร ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                             2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) จากการรวบรวมข้อมูล และผลการศึกษาต่างๆ
                  ที่เกี่ยวข้องทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

                        1.4.3 กำรน ำเข้ำและวิเครำะห์ข้อมูล

                            ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลได้มีการน าเข้าและวิเคราะห์เฉพาะแต่ละด้าน
                  โดยโปรแกรมส าเร็จรูปต่างๆ และโปรแกรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังรายละเอียดดังนี้
                             1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ เขตป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี ร่วมกับ
                  ข้อมูลเชิงพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน ข้อมูลวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรผู้ปลูกขมิ้นชัน  เกษตรกรที่
                  ได้รับการส่งเสริมการจัดการสมุนไพร และฐานข้อมูลการปลูกสมุนไพรระดับชุมชน โดยใช้ระบบ

                  สารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลการก าหนดเขตการใช้ที่ดินต่อไป
                            2) การวิเคราะห์เพื่อประเมินความเหมาะสมของที่ดินทางกายภาพส าหรับการปลูก
                  พืชเศรษฐกิจขมิ้นชันจากข้อมูลกลุ่มชุดดิน การจัดการที่ดิน และปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายปีทั่วประเทศ

                  โดยจ าแนกระดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 4 ระดับ คือ ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ชั้นที่มีความ
                  เหมาะสมปานกลาง (S2) ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) และชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (N)
                            3) การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
                              (1) การวิเคราะห์เพื่อประเมินความเหมาะสมของพืชกับสภาพพื้นที่ประกอบกับข้อมูล

                  เชิงพื้นที่ของผลผลิตขมิ้นชันที่เกษตรกรเพาะปลูกในกลุ่มชุดดินที่มีระดับความเหมาะสมที่แตกต่างกัน
                  เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สามารถคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพของพื้นที่และ
                  ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ในการนี้ได้แบ่งการวิเคราะห์ตามช่วงอายุของ
                  ขมิ้นชันและความเหมาะสมด้านกายภาพของพื้นที่ส าหรับปลูกขมิ้นชัน  และใช้ปัจจัยการผลิตเฉลี่ยต่อไร่

                  ของการผลิตขมิ้นชันในหน่วยที่ดินที่มีระดับความเหมาะสมสูง และหน่วยที่ดินที่มีระดับความเหมาะสมปาน
                  กลาง เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางสถิติ
                              (2) การวิเคราะห์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ ได้น าวิธีการจากระบบ
                  ของ FAO Framework (1983) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักการทางสถิติ ท าการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต

                  ในปีการผลิต 2562/63 น ามาบันทึกลงในโปรแกรมส าเร็จรูป (Microsoft Excel) แล้วน ามาวิเคราะห์ข้อมูล
                  เพื่อหาต้นทุนแปร ต้นทุนคงที่ รายได้ (มูลค่าผลผลิต) ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด ผลตอบแทนเหนือ
                  ต้นทุนผันแปร ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน มูลค่าปัจจุบันของรายได้
                  มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี อัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดและระยะเวลาคืนทุน

                  ของการปลูกขมิ้นชันที่เกษตรกรท าการผลิตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลตอบแทนจะสรุปออกมาในรูปของมูลค่าบาท
                  ต่อไร่





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16