Page 9 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 9

บทที่ 1

                                                         บทน ำ



                  1.1  หลักกำรและเหตุผล
                        ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจาก

                  ความพยายามที่จะลดการใช้ยาแผนปัจจุบันที่ต้องมีการน าเข้ามาจากต่างประเทศ และความต้องการ
                  ในการรักษาสุขภาพด้วยแนวทางที่ปลอดภัย รวมถึงแนวโน้มด้านความสวยงามที่ต้องมาจากธรรมชาติ
                  ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก สมุนไพรจึงได้เข้ามีบทบาททางการแพทย์มากยิ่งขึ้น และกลายเป็นหนึ่ง

                  ในผลิตภัณฑ์ที่ส าคัญของประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับ  แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีการจัดการ
                  ห่วงโซ่อุปทานสมุนไพร (Supply chain) อย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ า กลางน้ า ปลายน้ า จึงท าให้มีปัญหา
                  ในด้านวัตถุดิบที่ยังมีไม่เพียงพอ ต้องมีการน าเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาด้านคุณภาพ
                  วัตถุดิบ ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน และปัญหาด้านการตลาดที่ยังมีปัญหาด้านข้อตกลงทางการค้าที่เป็นอุปสรรค

                  ต่อการผลิต
                        แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 2560 - 2564 ซึ่งรัฐบาลและหน่วยงาน
                  ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความส าคัญต่อการพัฒนาสมุนไพรไทย จึงได้ให้มีการจัดท าแผนการพัฒนาสมุนไพร
                  ที่เป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและรักษาภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรไทย และพัฒนาการ

                  ผลิตและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรอย่างมีคุณภาพ และครบวงจร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของ
                  สมุนไพรไทยและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
                        ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรที่มีความโดดเด่นในด้านคุณภาพ และเป็นส่วนประกอบส าคัญในการผลิต
                  ยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรประเภทต่างๆ เป็นส่วนประกอบของเวชส าอาง เพราะสามารถ

                  ใช้กับผิวพรรณด้านความสวยงาม ขมิ้นชันเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่เป็น Product Champion โดยขมิ้นชัน
                  ได้ถูกก าหนดให้เป็นสมุนไพร Product Champion ที่อยู่ภายใต้มิติด้านศักยภาพ ซึ่งมีเกณฑ์ในการ
                  พิจารณา 3 เกณฑ์ ได้แก่ ความพร้อมของงานวิจัย ความสามารถน าไปต่อยอดในเชิงพานิชย์ และ

                  ความสามารถในการผลิตวัตถุดิบ (กระทรวงสาธารณสุข, 2559) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบ
                  ขมิ้นชันที่มีไม่เพียงพอ ซึ่งจากข้อมูลในปี 2559 ประเทศไทยต้องมีการน าเข้าขมิ้นชันปริมาณ 218 ตัน
                  โดยมีการน าเข้ามาจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่ามากที่สุด
                        ดังนั้นกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งมีภารกิจหลักในการวางแผนการใช้ที่ดิน ได้ส่งเสริมให้มีการก าหนดเขต
                  การใช้ที่ดินพืชสมุนไพร ได้แก่ ขมิ้นชัน ซึ่งเขตการใช้ที่ดินพืชสมุนไพรจะเกี่ยวข้องกับแผนแม่บทแห่งชาติ

                  ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ การส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตาม
                  ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเขตการใช้ที่ดินพืชสมุนไพร จะช่วยส่งเสริมให้เกิด
                  การปลูกพืชสมุนไพรตามศักยภาพของพื้นที่ช่วยให้เกิดการปลูกขมิ้นชัน ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพียงพอ
















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14