Page 10 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน
P. 10
1-2
ต่อความต้องการใช้ในประเทศ และมีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมการผลิต
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี
1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินส าหรับพืชสมุนไพรขมิ้นชัน ให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ
สังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
2) เพื่อเป็นกรอบในการก าหนดแผนการผลิต การตลาดและการส่งออกส าหรับพืชสมุนไพร ให้
เหมาะสมกับพื้นที่และทิศทางความต้องการของตลาดต่างประเทศ
3) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการก าหนดแผนงานพัฒนาการปลูกพืชสมุนไพรขมิ้นชันในระดับพื้นที่
1.3 ระยะเวลำและขอบเขตกำรด ำเนินกำร
1.3.1 ระยะเวลำด ำเนินกำร 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษำ พื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรขมิ้นชันทุกภาคของประเทศไทย
1.3.3 พืชเศรษฐกิจสมุนไพร ขมิ้นชัน
1.4 ขั้นตอนและวิธีกำรด ำเนินงำน
1.4.1 กำรรวบรวมข้อมูลทั่วไป
การรวบรวมข้อมูล ได้จากการเก็บข้อมูลในภาคสนาม และจากหน่วยงานราชการทั้งใน
และนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลทั่วไปได้แก่ ข้อมูลที่
น ามาใช้เป็นฐานในการศึกษาและวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนี้
1) ข้อมูลเชิงอรรถำธิบำย ได้แก่ ข้อมูลด้านทรัพยากรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภูมิอากาศ
ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ปลูกพืชสมุนไพร วิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจ
ชุมชนสมุนไพร เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมการจัดการสมุนไพร และฐานข้อมูลการปลูกสมุนไพรระดับชุมชน
สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติการค้าและการส่งออก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ข้อมูลด้านการตลาดและราคาผลผลิต
รวมถึงนโยบายรัฐบาลและแผนพัฒนาต่างๆ ของหน่วยงานราชการ
2) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลสภาพภูมิประเทศ ขอบเขตการปกครอง แผนที่กลุ่มชุดดิน
แผนที่พิกัดเกษตรกรผู้ปลูกขมิ้นชัน ขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ ขอบเขตนิคม
สหกรณ์ (รูปนิคมสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 และรูปสหกรณ์การ
เช่าที่ดิน) ขอบเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.) ขอบเขตชลประทาน แผนที่เส้นชั้นน้ าฝนของ
ประเทศไทยระหว่างปี 2532-2562
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจขมิ้นชัน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน