Page 11 - การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
P. 11
1
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยมีพื นที่ประมาณ 321 ล้านไร่ หรือประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื นที่
ส าหรับการเกษตร ประมาณ 138 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 43 เปอร์เซ็นต์ของเนื อที่ประเทศ ซึ่งใน พ.ศ. 2565
รายได้ของภาคเกษตรคิดเป็นร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic
Production: GDP) และภาคเกษตรยังคงมีการจ้างงานถึงเกือบ 1 ใน 3 ของก าลังแรงงาน (เกียรติคุณ
และคณะ, 2565) พืชเศรษฐกิจของประเทศไทยหลายชนิดเป็นสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียงในระดับโลก และ
ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลลิตที่มีคุณภาพดี เช่น อ้อย ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน าตาลอันดับที่ 2 ของ
โลก ปีละกว่า 6 ล้านตัน สร้างรายได้ถึง 100,000 ล้านบาท มีโรงงานน าตาล 47 แห่ง ต้องการอ้อยเข้าหีบ
มากกว่า 100 ล้านตันต่อปี (วีระพล, 2558; ชัยวัช, 2564ข) มันส าปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้
ให้กับประเทศเป็นปริมาณมาก โดยตลาดใหญ่ของมันส าปะหลังไทยคือประเทศจีนที่นิยมน าไปแปรรูปเป็น
สิ่งต่างๆ เช่น อาหารสัตว์ แต่งรสอาหาร น ามันเอทานอล (ชัยวัช, 2564ก) สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่
ส าคัญของไทยที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากใช้บริโภคภายในประเทศ
แล้ว สับปะรดยังสามารถน ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง น าสับปะรด
สับปะรดแช่แข็ง สับปะรดอบแห้ง เป็นต้น สับปะรดเป็นพืชที่มีความส าคัญในอุตสาหกรรมเกษตรสามารถ
สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจ านวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสับปะรดกระป๋อง ประเทศไทยมีปริมาณการ
ผลิตและการส่งออกสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกมากกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี
(สถาบันวิจัยพืชสวน, 2560) ผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ น โดยความต้องการใช้จะ
ขยายตัวตามทิศทางของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่มีแนวโน้มเติบโต ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ และอุปกรณ์
การแพทย์โดยเฉพาะถุงมือยาง รวมทั งการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื นฐานที่จะเพิ่มความต้องการใช้ยางใน
ภาคก่อสร้าง ประกอบกับราคาน ามันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ท าให้มีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพื่อ
ทดแทนยางสังเคราะห์เพิ่มขึ น (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2565ข) น ามันปาล์มมีปริมาณและมูลค่า
ส่งออกเพิ่มขึ น เนื่องจากราคาน ามันปาล์มในตลาดโลกสูงกว่าราคาน ามันปาล์มในประเทศ ประกอบกับ
ความต้องการที่เพิ่มขึ นของตลาดโลกโดยเฉพาะประเทศอินเดีย ท าให้ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ น
(ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2565ข) แต่อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์สินค้าเกษตรที่เป็นพืชเศรษฐกิจ
หลักของไทย ได้เผชิญปัจจัยท้าทายหลากหลายทั งในและต่างประเทศ ส่งผลกดดันต่อความผันผวน
ทางด้านราคา และอาจยังคงได้รับแรงกดดันต่อเนื่อง ส่งผลให้การก าหนดราคาขายของผู้ประกอบการค้า
พืชเกษตรมีความไม่แน่นอนและส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกร (ส านักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร, 2565ก) ปัจจุบันที่ก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการด้าน
เกษตรกรรมและธุรกิจเกษตร โดยภาครัฐบทบาทในด้านการให้บริการข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ท าให้
ผู้ประกอบการทั งเกษตรกร และภาคธุรกิจสามารถติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตรด้านต่างๆ อาทิ เนื อที่