Page 86 - Plan GI
P. 86

3-38






                  พบปริมาณกอนกรวด เศษหิน ลูกรัง หรือสารมวลพอกตางๆ นอยกวารอยละ 5 โดยปริมาตร ดินมี

                  การระบายน้ำดีปานกลาง มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ (รอยละ 0.46) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เปนประโยชน
                  คอนขางสูง (12.72 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม) ปริมาณโพแทสเซียมที่เปนประโยชนปานกลาง (62.40
                  มิลลิกรัมตอกิโลกรัม) พื้นที่เพาะปลูกกระเทียมศรีสะเกษมีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงคอนขางราบเรียบ

                  อยูในเขตและนอกเขตชลประทาน และมีการจัดการโดยการพูนโคนเพื่อปลูกหอมแดง
                               ลักษณะและสมบัติของชุดดินคง (Kng) ที่ปลูกกระเทียมศรีสะเกษนั้นมีลักษณะเปนดินลึก
                  โดยมีความลึกของดิน มากกวา 150 เซนติเมตร ดินบนเปนทรายปนดินรวนหรือดินรวนปนทราย
                  สีน้ำตาลเขม หรือสีน้ำตาล และดินลางเปนดินรวนเหนียวปนทรายหรือดินรวนเหนียว สีน้ำตาลหรือ

                  น้ำตาลปนเหลือง อาจพบสีเทาปนน้ำตาล เทาหรือเทาปนชมพูในดินลางลึกลงไป พบจุดประสีน้ำตาลแก
                  หรือสีเหลืองปนแดง ภายในความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน อาจพบกอนเหล็กสะสมในดินลาง
                  ในดินชั้นบนและชั้นลางของชุดดินคงพบปริมาณกอนกรวด เศษหิน ลูกรัง หรือสารมวลพอกตางๆ
                  นอยกวารอยละ 5 โดยปริมาตร ดินมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี มีปริมาณอินทรียวัตถุคอนขางต่ำ

                  (รอยละ 1.50) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เปนประโยชนคอนขางต่ำ (10 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม) ปริมาณ
                  โพแทสเซียมที่เปนประโยชนคอนขางต่ำ (60 มิลลิกรัมตอกิโลกรัม) พื้นที่เพาะปลูกกระเทียมศรีสะเกษ
                  มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงคอนขางราบเรียบ หรือพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอยที่อยูในเขตและ
                  นอกเขตชลประทาน

                               จากลักษณะและสมบัติของชุดดินที่พบมากในพื้นที่เพาะปลูกกระเทียมและอยูใน
                  ขอบเขตพื้นที่การผลิตกระเทียมศรีสะเกษตามประกาศฯ นั้น พบวา ดินสวนใหญมีลักษณะเปนดินลึก
                  โดยมีความลึกของดินมากกวา 150 เซนติเมตร ในดินชั้นลางของชุดดินที่พบในพื้นที่นั้นมีปริมาณกอนกรวด
                  เศษหิน ลูกรัง หรือสารมวลพอกตางๆ นอยกวารอยละ 5 โดยปริมาตร พื้นที่ปลูกกระเทียมพบในสภาพ

                  พื้นที่ราบเรียบถึงคอนขางราบเรียบ หรือพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอย ที่อยูในและนอกเขตชลประทาน
                  ดินมีการระบายน้ำดีปานกลาง และมีการพูนโคนเพื่อปลูกหอมแดงในดินลุม ไดแก ชุดดินโนนแดง (Ndg)
                  ชุดดินรอยเอ็ด (Re) และชุดดินหนองบุญนาก (Nbn) ชุดดินทาตูม (Tt) ชุดดินธวัชบุรี (Th) ชุดดินสีทน (St)
                  และชุดดินศีขรภูมิ (Sik) สวนในดินดอน ไดแก ชุดดินชุมพลบุรี (Chp) ชุดดินมหาสารคาม (Msk) ชุดดินคง

                  (Kng) ชุดดินพล (Pho) และชุดดินพระทองคำ (Ptk)






























                  โครงการแผนการใชที่ดินพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ของประเทศไทย      กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91