Page 49 - Plan GI
P. 49

บทที่ 3


                                       การวิเคราะหเพื่อกำหนดเขตการใชที่ดิน


                  3.1  สภาวการณการผลิตและการตลาดพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร
                        3.1.1 สภาวการณการผลิต
                             1) ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

                                ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ (Lava Durian Sisaket) หมายถึง ทุเรียนพันธุหมอนทอง
                  พันธุชะนี พันธุกานยาว ที่มีรสชาติหวานมัน มีกลิ่นหอมปานกลาง เนื้อละเอียด เนียนนุม แหง
                  สีเนื้อเหลืองสม่ำเสมอทั้งผล ซึ่งปลูกในพื้นที่อำเภอกันทรลักษณ อำเภอขุนหาญ และอำเภอศรีรัตนะ

                  ของจังหวัดศรีสะเกษ โดยทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเปนไมผลเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษ
                  มีเอกลักษณที่โดดเดน คือ เนื้อแหง กรอบนอกนุมใน รสชาติมัน ไมหวานจัด และกลิ่นไมแรง
                                ปจจุบันจังหวัดศรีสะเกษ เปนแหลงปลูกทุเรียนที่ใหญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  จากขอมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ป 2563 จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ปลูกทุเรียน 8,767 ไร เนื้อที่

                  ใหผล 3,234 ไร ผลผลิต 3,745 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,158 กิโลกรัมตอไร โดยผลผลิตเฉลี่ยทุเรียนของ
                  จังหวัดศรีสะเกษอยูในเกณฑที่สูง คือ 1,158 กิโลกรัมตอไร ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                  เทากับ 848 กิโลกรัมตอไร เมื่อพิจารณาขอมูลยอนหลัง 10 ป ระหวางป 2554-2563 พบวา เนื้อที่ปลูก
                  เพิ่มขึ้นรอยละ 22.18 ตอป โดยป 2554 มีเนื้อที่ปลูก 1,727 ไร ป 2563 เพิ่มขึ้นเปน 8,767 ไร เนื่องจาก

                  สถานการณราคาทุเรียนจังหวัดศรีสะเกษมีแนวโนมราคาเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันเนื้อที่ใหผลเพิ่มขึ้นรอยละ
                  12.62 โดยป 2554 มีเนื้อที่ใหผล 1,306 ไร ป 2563 เพิ่มขึ้นเปน 3,234 ไร และผลผลิตเพิ่มขึ้นรอยละ
                  17.38 โดยป 2554 มีผลผลิต 1,088 ตัน ป 2563 เพิ่มขึ้นเปน 3,745 ตัน สงผลใหผลผลิตตอไรเพิ่มขึ้นใน
                  ทิศทางเดียวกันรอยละ 4.22 โดยป 2554 มีผลผลิตตอไร 833 กิโลกรัมตอไร ป 2563 เพิ่มขึ้นเปน 1,158

                  กิโลกรัมตอไร (ตารางที่ 3-1 และรูปที่ 3-1)
                                โดยพื้นที่ 3 อำเภอ ไดแก อำเภอกันทรลักษ อำเภอขุนหาญ และอำเภอศรีรัตนะ
                  ซึ่งเปนบริเวณพื้นที่ปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ มีครัวเรือนเกษตรกรผูปลูกทุเรียนที่ขึ้นทะเบียนกับ

                  กรมสงเสริมการเกษตร ป 2563 รวมจำนวน 2,570 ครัวเรือน เมื่อพิจารณาขอมูลยอนหลัง ระหวางป
                  2560-2563 พบวา จำนวนครัวเรือนเกษตรกรผูปลูกทุเรียน เพิ่มขึ้นรอยละ 4.16 ตอป โดยป 2560
                  มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรผูปลูกทุเรียน 2,304 ครัวเรือน ป 2563 เพิ่มขึ้นเปน 2,570 ครัวเรือน
                  (ตารางที่ 3-2 และรูปที่ 3-2)
                                สำหรับสายพันธุทุเรียนที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด คือ พันธุหมอนทอง เนื่องจาก

                  เปนพันธุที่ตองการของตลาดทั้งในประเทศและตางประเทศ รองลงมา คือ พันธุชะนี พันธุกานยาว
                  พันธุนกหยิบ พันธุพวงมณี พันธุกระดุมทอง และพันธุนวลจันทร (ตารางที่ 3-3 และรูปที่ 3-3)















                  โครงการแผนการใชที่ดินพืชบงชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ของประเทศไทย      กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54