Page 9 - Wetland Prachuap Khirikhan
P. 9

บทที่ 1

                                                         บทนำ


                  1.1  หลักการและเหตุผล

                      ประเทศไทยไดใหความสำคัญกับพื้นที่ชุมน้ำ โดยไดเขารวมเปนภาคีอนุสัญญาวาดวยพื้นที่ชุมน้ำในป
                  พ.ศ. 2541 มีการประกาศใหมีพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระหวางประเทศ และทำการศึกษา สำรวจ
                  จัดทำรายชื่อสถานภาพและฐานขอมูลพื้นที่ชุมน้ำของประเทศไทย โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของ
                  พื้นที่ชุมน้ำของประเทศออกเปน 3 ระดับ ไดแก พื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ 69 แหง
                  พื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ 47 แหง และพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับทองถิ่น 19,295 แหง

                  โดยทำการสำรวจเสร็จสิ้นในป พ.ศ. 2542 และไดมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 กำหนด
                  มาตรการอนุรักษพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ เพื่อแกไขปญหาการเสื่อมโทรม
                  และการสูญเสียพื้นที่ชุมน้ำของประเทศไทย

                      การลดลงของพื้นที่ชุมน้ำนั้นทำใหเกิดผลกระทบทางชีวนิเวศทั้งระบบตั้งแตตนน้ำถึงทายน้ำ
                  กอใหเกิดความไมสมดุลตามธรรมชาติ สงผลใหเกิดภาวะน้ำทวมบอยขึ้น การขาดแคลนน้ำ การพังทลาย
                  ของดิน การตกคางของสารพิษในดิน มลพิษทางน้ำ และเกิดปญหาการแยงชิงทรัพยากรธรรมชาติ
                  อันกอใหเกิดความเสียหายตอความเปนอยูของประชากรและระบบเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุหลัก

                  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ชุมน้ำเปนพื้นที่ทำการเกษตร ปญหาการเสื่อมโทรมและการสูญเสีย
                  พื้นที่ชุมน้ำจึงมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับทองถิ่นที่ยังขาดมาตรการอนุรักษ
                  และจัดการพื้นที่ชุมน้ำอยางถูกตอง พื้นที่ดังกลาวจึงมีความเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชุมน้ำและลด
                  ขนาดพื้นที่ลงไปอยางรวดเร็ว

                      ดังนั้นป พ.ศ. 2552 ไดมีการประชุมคณะรัฐมนตรีไดมีการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่
                  1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เรื่องทะเบียนรายนามพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติ
                  ของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษพื้นที่ชุมน้ำมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 พฤษภาคม 2558
                  โดยประกาศกำหนดใหพื้นที่ชุมน้ำที่เปนสาธารณะทุกแหงทั่วประเทศโดยเฉพาะพื้นที่ชุมน้ำแหลงน้ำจืด

                  เปนพื้นที่สีเขียว และมิใหสวนราชการเขาไปใชประโยชนเพื่อสงวนไวเปนแหลงรองรับน้ำและกักเก็บน้ำ
                  ตอไป จากมติคณะรัฐมนตรีดังกลาว พื้นที่ ชุมน้ำสาธารณะหรือพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับทองถิ่น
                  จึงมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น หนวยงานของรัฐไมควรดำเนินการใดๆ รุกล้ำพื้นที่ชุมน้ำสาธารณะนั้นๆ
                      การสำรวจทะเบียนรายชื่อพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับทองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธจัดทำขึ้น

                  เพื่อลดความขัดแยงจากความตระหนักตอการใชประโยชนจากพื้นที่ชุมน้ำที่แตกตางกัน เนื่องดวยทะเบียน
                  รายชื่อพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับทองถิ่นไดจัดทำตั้งแตป พ.ศ.2542 แสดงรายชื่อของพื้นที่ชุมน้ำ
                  ตามเขตการปกครอง โดยไมมีขอบเขตและตำแหนงอางอิงที่ชัดเจน การบุกรุกพื้นที่ชุมน้ำโดยอางความ
                  ไมชัดเจนของพื้นที่จึงเปนสาเหตุหนึ่งของการคุกคามพื้นที่ชุมน้ำ การศึกษาดังกลาวจึงไดจัดทำขึ้นโดยมี

                  วัตถุประสงคเพื่อตรวจสอบสถานสภาพพื้นที่ชุมน้ำที่มีความสำคัญระดับทองถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ
                  รวมทั้งจัดทำขอบเขตและตำแหนงที่ตั้งของพื้นที่ชุมน้ำ ทั้งนี้ขอมูลดังกลาวยังสามารถใชเปนหลักฐาน
                  ขอมูลเพื่อสนับสนุนงานวางแผนการใชที่ดิน และการหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดสรางแหลงน้ำขนาดเล็ก

                  ของกรมพัฒนาที่ดิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14