Page 84 - Phetchaburi-Prachuap Khirikhan Basin
P. 84

3-50





                              (1.2) แบบจำลองปริมาณฝนใชการ (Effective Rainfall Model) ฝนใชการ

                  หมายถึง ฝนที่พืชสามารถนําไปใชประโยชนได ปริมาณฝนใชการของพืชแตละชนิดจะแตกตางกัน
                  ตามชนิดของพืชและวิธีการใหน้ำ เชน ฝนใชการของขาวเปนสวนของปริมาณน้ำฝนที่ขังอยูในแปลงนา
                  ในระดับที่ไมเปนอันตรายแกตนขาว สวนฝนใชการของพืชไรหรือพืชอื่นเปนสวนของปริมาณน้ำฝน

                  ที่ซึมอยูในเขตรากพืชและพืชสามารถดูดไปใชได แบบจําลองปริมาณฝนใชการเปนแบบจําลองที่ใช
                  วิเคราะหประเมินปริมาณฝนที่สามารถนํามาใชแทนน้ำจากชลประทาน ซึ่งขึ้นอยูกับปจจัยที่สําคัญคือ
                  ปริมาณฝนที่ตกในแตละชวงเวลา ปริมาณการใชน้ำของพืช และความสูงของคันนา กลาวคือ
                  หากเกษตรกรนิยมเก็บน้ำชลประทานไวในแปลงนาที่ระดับต่ำ เมื่อฝนตกลงมาจะสามารถเก็บน้ำฝน

                  ไวในแปลงนาไดมาก เปนตน ดังนั้นในสัปดาหที่มีปริมาณฝนตกนอย รอยละของฝนใชการจะสูงกวา
                  สัปดาหที่มีฝนตกมาก และยังขึ้นอยูกับปริมาณฝนที่ตกในสัปดาหกอน ๆ อีกดวย
                                  ผลการประเมินปริมาณฝนใชการโดยแบบจําลองดังกลาว มีคาปริมาณน้ำฝน
                  ใชการรายวันแลวจึงนํามารวมกันเปนรายสัปดาหหรือรายเดือน เพื่อใชเปนขอมูลนําเขาแบบจําลอง

                  ความตองการน้ำ โดยกําหนดใหมีคาระดับน้ำฝนใชการสามารถถึงระดับน้ำในแปลงเพาะปลูก
                  โดยแบงออกเปน 3 ระดับ คือ ระดับน้ำในแปลงที่ความจุต่ำสุด (STMIN) ระดับน้ำในแปลงนาที่ความจุ
                  หลังการใหน้ำ (STO) และระดับน้ำในแปลงนาที่ความจุสูงสุด (STMAX)
                              (1.3) ปริมาณน้ำเตรียมแปลง การปลูกขาวตองการปริมาณน้ำจํานวนหนึ่ง

                  เพื่อใชในการเตรียมแปลงทั้งในฤดูฝนและฤดูแลง ซึ่งการปลูกพืชชนิดอื่นตองการนอยมาก และปริมาณน้ำ
                  สวนนี้จะแปรผันกับปจจัยที่สําคัญ ไดแก คุณสมบัติทางกายภาพของดิน ความชื้นของดิน ชนิดของดิน
                  ความสามารถการระเหยของน้ำ วิธีและระยะเวลาในการเตรียมแปลง ปริมาณน้ำเตรียมแปลง
                  มีคาประมาณ 200-300 มิลลิเมตร ระยะเวลาในการเตรียมแปลงสําหรับนาขาว 1 ไรเทากับ 2-3 สัปดาห

                              (1.4) ปริมาณน้ำซึมลงไปในดิน การปลูกขาวจําเปนตองมีน้ำขังอยูในแปลงนา
                  ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นจะมีปริมาณน้ำสวนหนึ่งที่ซึมเลยเขตรากพืชลงไปในดิน ซึ่งพืชไมสามารถ
                  นํามาใชประโยชนได ปริมาณน้ำซึมลงในดินขึ้นอยูกับองคประกอบและปจจัยที่สําคัญ ไดแก
                  คุณสมบัติของดิน วิธีการเตรียมแปลง ความสูงของน้ำที่ขังในแปลงนา และระดับน้ำใตดิน

                  ซึ่งพิจารณากําหนดใหปริมาณน้ำที่ซึมลงในดินประมาณ 1.0-3.0 มิลลิเมตรตอวัน
                              (1.5) ประสิทธิภาพการชลประทาน ประสิทธิภาพการชลประทานเปนคาดัชนีชี้วัด
                  ปริมาณน้ำชลประทานที่ตองการ ซึ่งปริมาณน้ำชลประทานดังกลาวควรมากกวาปริมาณความตองการ

                  ใชน้ำของพืชที่แปลงเพาะปลูก ทั้งนี้เพื่อทดแทนปริมาณน้ำที่สูญเสียระหวางทางลําเลียงน้ำและที่สูญเสีย
                  ในกระบวนการใชน้ำ สําหรับโครงการนี้กําหนดประสิทธิภาพการชลประทานเทากับรอยละ 55
                              (1.6) ความตองการน้ำชลประทาน (Irrigation Demand) แบบจําลอง
                  ความตองการน้ำชลประทาน (Irrigation Demand Model) ใชวิเคราะหประเมินและจําลอง
                  ความตองการน้ำชลประทานรายสัปดาห หรือปริมาณน้ำที่ตองการบริเวณอาคารบังคับน้ำปากคลองสงน้ำ

                  เพื่อใหสามารถลําเลียงน้ำไปถึงแปลงเพาะปลูกดวยปริมาณน้ำที่เพียงพอ สําหรับการเพาะปลูกขาว พืชไร
                  พืชผัก หรืออื่น ๆ ตามคําจํากัดความดังนี้

                                                            ปริมาณการใชน้ำของพืช+การรั่วซึมบนแปลง−ฝนใชการ
                            ปริมาณความตองการน้ำชลประทาน =
                                                                     ประสิทธิภาพการชลประทาน





                                                                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89