Page 113 - รายงานแผนการใช้ที่ดินน้ำแม่สรวย
P. 113

3-70






                  กับการฟื้นฟูป่าต้นน ้าที่เสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้เป็นแหล่งดูดซับน ้าฝนและเพิ่ม

                  ปริมาณน ้าต้นทุนในแต่ละลุ่มน ้า ควบคู่ไปกับการป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกทาลายพื้นที่ป่าและ

                  ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน ้า

                    3.3.5  แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

                  (พ.ศ. 2560-2564)
                            ให้ความส าคัญกับการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างสมดุล มีการ

                  รวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรในชุมชนต่างๆ เพื่อผลักดัน ให้สามารถด าเนินงานในรูปของธุรกิจ

                  เกษตรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยน้อมน าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ
                  พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มาขยายผลและประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาการเกษตรใน

                  ระยะต่อไป ถือเป็นก้าวส าคัญของการพัฒนาประเทศจากวิถีการท าเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การบริหาร

                  จัดการการเกษตรแบบสมัยใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสนับสนุนการผลิตสินค้า
                  เกษตร ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนในช่วง 5 ปีแรก (พ.ศ. 2560 – 2564) ของยุทธศาสตร์เกษตรและ

                  สหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

                  สังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และการพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0
                  ทั้งนี้ ซึ่งมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาการเกษตร ดังนี้

                            1)  ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและ

                  ยั่งยืน

                              เป็นประเด็นส าคัญของการพัฒนาภาคเกษตรบนพื้นฐานการบริหารจัดการทรัพยากร
                  การเกษตรที่มีอยู่อย่างจ ากัด โดยเน้นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรให้คงความหลากหลาย

                  ทางชีวภาพ สนับสนุนกิจกรรมเกษตรเชิงอนุรักษ์เพื่อคงความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริม

                  การเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการทรัพยากรน ้าและพื้นที่ท ากินทางการเกษตร และ

                  สร้างภูมิคุ้มกันทางการเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


                            2)  ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร

                              เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ มีความมั่นคงและภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพ
                  เกษตรกรรม รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบธุรกิจเกษตร

                  บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วง

                  แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 – 10 โดยเน้นการขยายผลการท าการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
                  พอเพียง เสริมสร้างความภาคภูมิใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยการสร้าง

                  และพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร สร้างระบบสวัสดิการและด าเนินการปรับโครงสร้าง
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118