Page 94 - Sa Kaeo
P. 94

4-6





                  และ 3) การเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินต่อผลกระทบ

                  และภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่ได้รับความเสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติที่
                  อาจจะเกิดขึ้นโดยมุ่งเน้นการคาดการณ์และประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ดินหรือทรัพยากรดิน
                  จากการเปลี่ยนแปลสภาพภูมิอากาศหรือภัยธรรมชาติ และการกำหนดแนวทางในการรับมือป้องกัน

                  แก้ไขปัญหา กำหนดมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและภัยพิบัติจากการ
                  เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพื้นที่ที่ได้รับความเสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมี
                  การบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
                          ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินมีกลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1) การ
                  พัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็น

                  ธรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน
                  และทรัพยากรดิน รวมทั้งผลักดันให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมเทคโนโลยีนวัตกรรม
                  ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน การเร่งรัดพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ดิน

                  และทรัพยากรดิน การจัดทำแผนที่กำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐโดยมีกฎหมายรองรับและมีมาตรการทาง
                  การเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็น
                  ธรรม และ 2) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินโดยมุ่งเน้นการส่งเสริม
                  สนับสนุนศึกษาวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน โดยมีแผนงานการวิจัยที่เป็นระบบ

                  รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อผลักดันผลงานการวิจัยไปสู่การปฏิบัติและการ
                  พัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินทั้งในประเทศและระหว่าง
                  ประเทศ (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2560)
                        7) (ร่าง) กรอบพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวน)

                          มียุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาภาคตะวันออกให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
                  พัฒนาการผลิตและการค้าผลไม้ภาคตะวันออก ให้เป็นศูนย์ผลไม้เมืองร้อนแห่งเอเชียโดยปรับปรุง
                  ประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การ

                  แปรรูป และการจัดจำหน่าย รวมถึงส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ได้แก่ สุกร ไก่ และโค ในจังหวัดชลบุรี
                  ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว ให้ผลผลิตมีคุณภาพและได้มาตรฐานความปลอดภัย สอดคล้องกับความ
                  ต้องการของผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความสามารถใน

                  การใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และพันธุ์ที่เหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารจัดการตลาด
                  ให้มีประสิทธิภาพ
                          ยุทธศาสตร์ที่ 3 ปรับปรุงมาตรฐานสินค้าและธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว ฟื้นฟูและอนุรักษ์
                  การท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรีและสระแก้ว ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอม โดยฟื้นฟูบูรณะ
                  โบราณสถานและสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งปรับปรุงและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และควบคุมการใช้

                  ที่ดินอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
                          ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนให้เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับประเทศ
                  เพื่อนบ้านให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอรัญประเทศ จังหวัด

                  สระแก้ว ให้เป็นประตูและศูนย์กลางทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน เชื่อมโยงกับประเทศ



                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99