Page 89 - Sa Kaeo
P. 89

บทที่ 4

                                   กระบวนการวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการใช้ที่ดิน




                        สาระสำคัญในบทนี้จะมี 4 เรื่อง คือ (1) นโยบายแห่งรัฐ (2) ความคิดเห็นของประชาชน (3) การวิเคราะห์
                  DPSIR และ (4) การวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการใช้ที่ดิน


                  4.1  นโยบายแห่งรัฐ

                        นโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนการใช้ที่ดินมีทั้งกฎหมาย ยุทธศาสตร์ แผนการปฏิรูป
                  ประเทศ แผนพัฒนาระดับต่างๆ ดังนี้

                        1) รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
                        2) ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580)
                        3) คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาวันที่ 25 กรกฎาคม 2562
                        4) แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                        5) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
                        6) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560-2579)
                        7) แผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570
                        8) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (พ.ศ. 2566-2570)

                        9) แผนพัฒนาจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ. 2566-2570)
                        10) แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว (พ.ศ. 2566-2570)
                        11) ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว (พ.ศ. 2566-2570)

                  โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 4-1
                        1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
                          มาตรา 72 (1) วางแผนการใช้ที่ดินของประเทศไทยเหมาะสมกับสภาพของพื้นที่และศักยภาพของ
                  ที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                        2) ยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

                            มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
                            ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันมีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการ
                  ยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอดอดีต” โดย

                  มองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติ
                  ที่หลากหลายรวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุกต์ผสมผสาน
                  กับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน”
                  เพื่อปูทางสู่อนาคตผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคม

                  และขนส่งโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและดิจิทัลและการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการ
                  พัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคตและ (3) "สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต" ด้วยการเพิ่มศักยภาพของ
                  ผู้ประกอบการพัฒนาคนรุ่นใหม่รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด




                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94