Page 91 - Sa Kaeo
P. 91

4-3





                              3.1.2 การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

                                 (1) ปรับปรุงระบบที่ดินทำกินและลดความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดินโดย
                  จัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรที่ยากไร้และเกษตรกรตามหลักการของ
                  คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติการกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้ำและมี

                  มาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกรและผู้ยากจนจัดทำระบบ
                  ฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการที่ดินจัดทำหลักฐานการถือครองที่ดินของรัฐทุกประเภทจัดทำแผนที่
                  แสดงแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจนและเร่งแก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน
                  เพื่อลดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ
                                 (2) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบแหล่งชุมชนและทะเลโดยเชื่อมโยงกับ

                  แผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปีของประเทศ เพิ่มผลิตผลในการจัดการและการใช้น้ำทุกภาคส่วนจัดให้มีน้ำ
                  สะอาดใช้ทุกครัวเรือนในชุมชนชนบทในปริมาณคุณภาพและราคาที่เข้าถึงได้มีระบบการจัดการน้ำชุมชน
                  ที่เหมาะสมพร้อมทั้งส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำพื้นที่ชุ่มน้ำพื้นที่พักน้ำแหล่งน้ำธรรมชาติแอ่งน้ำ

                  บาดาลการระบายน้ำชายฝั่งเพิ่มผลิตภาพของทั้งระบบและสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำให้ทัดเทียม
                  ระดับสากลดูแลภัยพิบัติจากน้ำพัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบและเพิ่มพื้นที่ชลประทานเพื่อลด
                  ความเหลื่อมล้ำและสร้างระบบจัดสรรน้ำที่เป็นธรรมรวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการใน
                  ชุมชนตามแนวพระราชดำริ

                          3.2 นโยบายเร่งด่วน
                             การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรมโดยจัดพื้นที่การเกษตรให้สอดคล้อง
                  กับระบบบริหารจัดการน้ำและคุณภาพของดินตาม Agri-Map กำหนดเป้าหมายรายได้เกษตรกรให้
                  สามารถมีรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพในสินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว ยางพารา

                  มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัย อ้อย และข้าวโพด ด้วยการชดเชยการประกันรายได้ ส่งเสริมระบบประกันภัย
                  สินค้าเกษตร หรือเครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางวินัยการเงินการคลังของ
                  ภาครัฐในระยะยาว ส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา และศึกษารูปแบบระบบแบ่งปันผลกำไรสินค้าเกษตรที่
                  เป็นธรรมให้แก่เกษตรกร แก้ไขปัญหาข้าวครบวงจร ส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรมและการ

                  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางการเกษตรในอุตสาหกรรมพลังงาน
                  สร้างนวัตกรรมและเครื่องมือทางการเกษตรในราคาที่เข้าถึงได้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ควบคุมมาตรฐาน
                  การใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมีในการเกษตรเพื่อนำไปสู่การลดละเลิกการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี โดยจัดหาสิ่ง

                  ทดแทนที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกร ต่อยอดภูมิปัญญาและความรู้ของปราชญ์
                  ชาวบ้านในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป รวมทั้งเร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้
                  กัญชา กัญชง และพืชสมุนไพรในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อ
                  สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ของประชาชน โดยกำหนดกลไกการดำเนินงานที่รัดกุมเพื่อ
                  มิให้เกิดผลกระทบทางสังคมตามที่กฎหมายบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด (สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2562)

                        4) แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากรดิน
                          มีประเด็นย่อยที่เกี่ยวข้อง 2 ประเด็น ได้แก่
                          ประเด็นย่อยที่ 2.1 จัดทำแผนการใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับ

                  ศักยภาพของพื้นที่และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมายคือ 1) ประเทศมี



                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96