Page 93 - Sa Kaeo
P. 93

4-5





                  ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตร

                  ผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุ
                  อินทรีย์ และการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีการเกษตร สนับสนุนงานวิจัยและจัดทำพื้นที่
                  ต้นแบบเพื่อสาธิตการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดให้มีแหล่งทุน และ

                  กลไกทางการตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับรูปแบบการทำการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                  พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรที่เป็น
                  มิตรกับสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความมั่นใจ
                  ให้กับผู้บริโภคตลอดจนศึกษาความเหมาะสมในการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเหล่านี้ให้เป็น
                  มาตรการเชิงบังคับ ขยายผลแนวคิดการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนให้มี

                  กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและผลักดันสู่กระบวนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง (สำนักงาน
                  คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2559)
                        6) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560-2579)

                          มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีกลยุทธ์หลัก
                  ได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งเน้น
                  การวางแผนกำหนดเป้าหมายและสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศให้มีความเหมาะสม

                  อย่างเป็นระบบตามศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของตนโดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ การจัดให้มี
                  การวางผังเมืองในทุกระดับโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และบังคับใช้กฎหมายที่
                  เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการทางวิชาการ การกำหนดเขตและมาตรการใช้ประโยชน์
                  ที่ดินทั้งในระดับประเทศ ระดับลุ่มน้ำ และระดับจังหวัดให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน การกำกับ

                  ควบคุมการถือครองที่ดินของประเทศให้มีการกระจายถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ขอคืนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้
                  ประโยชน์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งป้องกันการถือครองที่ดินของคนต่างชาติและนิติบุคคล
                  ต่างด้าวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ใช้
                  ประโยชน์กลับมาใช้ประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

                  โดยใช้กลไกประชารัฐ 2) การเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืนเพื่อสร้าง
                  ความมั่นคงทางอาหารโดยมุ่งเน้นการกำหนดพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) โดยการวางผังจัดรูปที่ดิน
                  จัดระบบชลประทาน จัดสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา ปรับระดับพื้นที่ บำรุงดิน วางแผนการผลิต

                  และจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่ การพัฒนาศักยภาพ
                  พื้นที่เกษตรกรรมในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดต้นทุนโดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการ ด้าน
                  การเกษตร เทคโนโลยี และนวัตกรรม การส่งเสริมสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืช
                  เชิงเดียวไปสู่รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกื้อกูลกับระบบนิเวศและสอดคล้องกับ
                  การอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูปรับปรุงคุณภาพดินที่เสื่อมโทรมขาดความอุดมสมบูรณ์ และแก้ไข

                  ปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยในการทำการเกษตร และเสริมสร้างความ
                  มั่นคงทางอาหาร การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ และขยายโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ทำกิน
                  ของเกษตรกรให้มากขึ้นเพื่อให้เป็นฐานการผลิตการเกษตรที่ยั่งยืน และการสร้างกลไกการป้องกันและ

                  แก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินเกษตรกรรมเพื่อรักษาฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน



                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสระแก้ว                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98