Page 53 - Lamphun
P. 53

3-13






                  และมีหินดินดานแทรกสลับอยู่ในช่วงล่าง เนื่องจากมีเนื้อดินแทรกตัวตามเนื้อหินปูน ท าให้การเกิดโพรง

                  หินใต้ดินเป็นไปได้ยาก การเจาะบ่อบาดาลอาจไม่พบแหล่งน้ าบาดาล หรือแม้จะเจาะพบโพรงใต้ดิน
                  แต่น้ ามักจะมีปริมาณดินเหนียวหรือสารแขวนลอยสูง ไม่สามารถพัฒนาให้ใสสะอาดได้ กระจายตัวมาก
                  อยู่ในอ าเภอลี้ อ าเภอบ้านโฮ่ง และอ าเภอป่าซาง

                                - ชั้นหินให้น้ าที่เป็นหินอัคนีและหินแปร มีเนื้อที่ 986,551 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35.03 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด คุณสมบัติการกักเก็บน้ าบาดาล ขึ้นอยู่กับโพรงของหินและแนวรอยแตก ประกอบด้วย ชั้น
                  หินอุ้มน้ าหินแกรนิต (Gr) เป็นชั้นหินเนื้อแน่น มีการแตกแบบเป็นกาบ ท าให้เกิดเป็นชั้นหินแกรนิตผุ เป็น
                  แหล่งกักเก็บน้ าบาดาล การเจาะน้ าบาดาลถ้าไม่พบรอยแตกจะไม่ได้น้ าบาดาล การเจาะพัฒนาน้ า
                  บาดาลในหินแกรนิตจึงต้องท าการส ารวจอย่างละเอียด และชั้นหินอุ้มน้ าหินแปร (DEmm) ประกอบด้วย

                  หินควอร์ตไซต์ หินชีสต์ และหินฟิลไลต์ น้ าใต้ดินถูกกักเก็บอยู่ภายในช่องว่างตามรอยแตก รอยเลื่อน
                  และรอยต่อระหว่างชั้นหิน การเจาะน้ าบาดาลในบริเวณแนวรอยเลื่อน ขนาดใหญ่อาจให้น้ าในปริมาณมาก
                  กระจายตัวมากอยู่ในอ าเภอลี้ อ าเภอแม่ทา และอ าเภอทุ่งหัวช้าง

                                1) คุณภาพน้ าใต้ดิน ในการศึกษาคุณภาพน้ าใต้ดินของจังหวัดล าพูน พิจารณาจากปริมาณ
                  ของแข็งที่ละลายเจือปนอยู่ในน้ า ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (Total Dissolve Solid: Tds) มีหน่วยเป็น
                  มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ยังพิจารณาควบคู่กับอัตราการให้น้ า (Yield) มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อ
                  ชั่วโมง เพื่อหาเนื้อที่ที่ควรส่งเสริมให้มีการจัดการน้ าและการพัฒนาน้ าใต้ดินให้เป็นพื้นที่เหมาะสมต่อ

                  การเกษตรและอุปโภค บริโภค จากการศึกษาพบว่า อัตราการให้น้ าอยู่ระหว่าง 2 - 10 ลูกบาศก์เมตรต่อ
                  ชั่วโมง และปริมาณของแข็งที่ละลายเจือปนอยู่ในน้ า (Tds) น้อยกว่า 500 มิลลิกรัมต่อลิตร มีเนื้อที่มาก
                  ที่สุด 1,409,741 ไร่ หรือร้อยละ 50.06 ของเนื้อที่จังหวัด ดังตารางที่ 3-3 ส่วนใหญ่พบในบริเวณอ าเภอ
                  ลี้ อ าเภอบ้านโฮ่ง และอ าเภอแม่ทา คุณภาพน้ าบาดาลอยู่ในระดับดี

                                2) ศักยภาพการพัฒนาน้ าใต้ดิน เมื่อพิจารณาร่วมกับลักษณะของชั้นหินอุ้มน้ า พบว่า
                  บริเวณที่มีอัตราการให้น้ าอยู่ระหว่าง 2 - 10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และปริมาณของแข็งที่ละลายเจือ
                  ปนอยู่ในน้ า (Tds) น้อยกว่า 500 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่รองรับด้วยชั้นหินอุ้มน้ าตะกอน
                  ตะพักน้ ายุคเก่า (Qot) เป็นชั้นหินอุ้มน้ าในหินร่วน เป็นแหล่งน้ าบาดาลที่พัฒนาขึ้นมาใช้ได้ แต่อย่างไรก็

                  ตามการพัฒนาน้ าใต้ดินยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอื่นอีก เช่น ต้องศึกษาปริมาณน้ าทั้งหมดที่มีอยู่ในชั้นหิน
                  อุ้มน้ า ซึ่งได้จากการค านวณจ านวนเปอร์เซ็นต์ของช่องว่างในหิน ความพรุนของหิน เป็นต้น ซึ่งต้อง
                  ด าเนินการศึกษาโดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58