Page 48 - Lamphun
P. 48

3-8






                        3.1.3 การประเมินคุณภาพที่ดิน

                                การประเมินคุณภาพที่ดิน เป็นการประเมินศักยภาพของที่ดิน ท าให้ทราบว่าที่ดินนั้นๆ
                  เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ โดยพิจารณาจากคุณลักษณะที่ดินที่ได้จ าแนก
                  ไว้ในแต่ละหน่วยที่ดิน (Land Unit, LU) สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และระดับ

                  การจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดินส าหรับแต่ละประเภทการใช้ที่ดิน (Land Utilization Type, LUT)
                  ซึ่งการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจได้ศึกษาตามหลักการของ FAO Framework ค.ศ. 1993
                                คุณภาพที่ดิน (Land Quality) คือ คุณสมบัติของดินที่ค านึงถึงองค์ประกอบของสภาพสิ่งแวดล้อม
                  ที่อยู่โดยรอบ เช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ พืชพรรณธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                  เป็นต้น โดยทั่วไปการประเมินคุณภาพที่ดินจะประเมินสอดคล้องกับหน่วยที่ดินร่วมกับปริมาณน้ าฝนรายปี

                  โดยหน่วยที่ดิน (ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลชุดดินและการจัดการที่ดินส าหรับพืชเศรษฐกิจ) ร่วมกับปริมาณ
                  น้ าฝนรายปี (annual rainfall) โดยคุณภาพที่ดินที่ก าหนดในการประเมินส าหรับพืชเศรษฐกิจในระบบ
                  FAO Framework ได้ก าหนดไว้ทั้งหมด 25 ชนิด  ในที่นี้น ามาใช้เพียงไม่กี่ชนิดขึ้นอยู่กับความพร้อมของ

                  ข้อมูล ความแตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต ชนิดพืช
                  และความต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในการศึกษานี้ใช้คุณภาพที่ดินจ านวน 9 ชนิด ดังนี้
                                1) สภาวะการหยั่งลึกของราก (r) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลึกของดิน
                                2) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

                  สภาพการระบายน้ าของดิน
                                3) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความอุดม-
                  สมบูรณ์ของดิน
                                4) การมีเกลือมากเกินไป (x) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ค่าการน าไฟฟ้า

                                5)  ความเสียหายจากการกัดกร่อน (e) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันพื้นที่
                                6) ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (w) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันพื้นที่
                                7)  ปริมาณสารพิษในดิน (z) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระดับความลึกของจาโรไซต์
                                8) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณ

                  น้ าฝนเฉลี่ยรายปี
                                9) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความจุ
                  แลกเปลี่ยนแคตไอออน และความอิ่มตัวเบส

                                การจ าแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (Land Suitability Classification) ตามหลักการ
                  ของ FAO Framework ได้จ าแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดิน คือ

                                S1 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง
                                S2 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง
                                S3 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย

                                N  หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม
                                ผลการประเมินความเหมาะสมของที่ดินของจังหวัดล าพูน สามารถจ าแนกการจัดชั้นความ
                  เหมาะสมทางกายภาพและข้อจ ากัดของที่ดิน รายละเอียดดังนี้
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53