Page 43 - Lamphun
P. 43

3-3






                  ที่ถูกต้องเหมาะสมในการท าเกษตรกรรม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวควรก าหนดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า

                  การปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ยั่งยืนต่อไป

                  ตารางที่ 3-1 ทรัพยากรดินที่มีปัญหาทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดล าพูน


                                                                                      เนื้อที่
                                    สถานภาพทรัพยากรดิน
                                                                                 ไร่         ร้อยละ
                   ดินที่มีปัญหาทางการเกษตร                                    607,553        21.58

                      ดินตื้นในพื้นที่ดอน ถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน    395,310        14.04
                      ดินตื้นในที่ดอน ถึงชั้นหินพื้น                           148,852         5.29

                      ดินที่มีหินโผล่                                           58,791         2.09
                      ดินตื้นในพื้นที่ดอนถึงชั้นมาร์ลหรือก้อนปูน                  4,600        0.16
                   ดินที่ไม่มีปัญหาทางการเกษตร                                 802,430        28.49
                   พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน                                     1,214,841        43.14

                   พื้นที่เบ็ดเตล็ด                                            153,327         5.44
                   พื้นที่น้ า                                                  38,025         1.35

                                          รวมเนื้อที่                        2,816,176       100.00

                  ที่มา: ดัดแปลงจากกองส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2561)

                        3.1.2 การชะล้างพังทลายของดิน
                                จากผลการประเมินการชะล้างพังทลายของดินของกรมพัฒนาที่ดิน (2563) โดยใช้สมการ
                  การสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation: USLE) ซึ่งจัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน
                  เป็น 5 ระดับ พบว่า จังหวัดล าพูนมีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน ดังนี้ (ตารางที่ 3-2 และรูปที่ 3-3)

                                1) การสูญเสียดินน้อย มีเนื้อที่ 2,190,080 ไร่ หรือร้อยละ 77.76 ของเนื้อที่จังหวัด มีอัตรา
                  การสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์และพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ล าไย นาข้าว
                  ในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่นี้ไม่จ าเป็นต้องมี

                  มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าแบบเข้มข้น แต่ควรป้องกันการบุกรุกท าลายพื้นที่ป่า รักษาสภาพป่าไม้
                  ให้มีความสมบูรณ์ และปรับปรุงบ ารุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุเพื่อป้องกันความเสื่อมโทรมของดินที่เกิดจาก
                  การใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม
                                2) การสูญเสียดินปานกลาง มีเนื้อที่ 411,131 ไร่ หรือร้อยละ 14.60 ของเนื้อที่จังหวัด
                  มีอัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ และพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูก

                  พืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันส าปะหลัง ในสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ และ
                  ไม้ผล เช่น ล าไย มะม่วง ที่ปลูกในสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ ควรใช้
                  มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เช่น ปลูกพืชตามแนวระดับ การพืชคลุมดินพวกพืชตระกูลถั่ว

                  หรือปลูกแถบหญ้าแฝก เป็นต้น เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายและรักษาความชุ่มชื้นของดิน
                                3) การสูญเสียดินรุนแรง มีเนื้อที่ 143,788 ไร่ หรือร้อยละ 5.11 ของเนื้อที่จังหวัด มีอัตรา
                  การสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันส าปะหลัง
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48