Page 42 - Lamphun
P. 42

3-2






                                        - กลุ่มดินร่วนหยาบ มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย

                  หรือดินร่วนเหนียวปนทราย ได้แก่ ชุดดินลานสัก (Lsk) ชุดดินสันป่าตอง (Sp) ชุดดินอุทัย (Uti) และ
                  ตะกอนน้ าพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ าดี (AC-wd)
                                        - กลุ่มดินลึกปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนเหนียว ดินล่างเป็น

                  ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายปนก้อนรวด มีก้อนกรวดปะปนอยู่มากกว่า
                  ร้อยละ 35 ภายในความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินบ้านไร่ (Bar) ชุดดินวังสะพุง
                  (Ws) และชุดดินภูสะนา (Ps)
                                        - กลุ่มดินตื้น มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนปน
                  ทราย ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทราย หรือดินเหนียวปนกรวด มีลูกรัง ก้อนกรวด

                  หรือเศษหินปะปนอยู่มากกว่าร้อยละ 35 ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินหินซ้อน
                  (Hs) ชุดดินแม่ริม (Mr) ชุดดินทับเสลา (Tas) ชุดดินท่ายาง (Ty) และชุดดินโป่งตอง (Po)
                                        - กลุ่มดินที่พบชั้นมาร์ล เป็นดินตื้นถึงลึกปานกลาง มีเนื้อดินเป็นร่วนปนเหนียว

                  พบชั้นปูนมาร์ลภายในความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินตาคลี (Tk)
                                        (3) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ได้แก่ บริเวณที่เป็นเทือกเขา หรือภูเขาที่มีลักษณะความสูงชัน
                  สลับซับซ้อนมาก และโดยเฉลี่ยความลาดชันของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
                                        (4) พื้นที่เบ็ดเตล็ด ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่น้ า พื้นที่เขตทหาร และบ่อขุด (รูปที่ 3-1)

                                2) ทรัพยากรดินมีปัญหาทางการเกษตร
                                    ทรัพยากรดินมีปัญหาทางการเกษตร สามารถจ าแนกตามสาเหตุของการเกิดได้เป็น
                  2 ประเภท คือ ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ และดินปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                  โดยดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ ได้แก่ ดินอินทรีย์ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัดและดินตื้น

                  ส าหรับดินปัญหาที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตัวอย่างเช่น ดินดาน ดินปนเปื้อน ดินเหมืองแร่ร้าง
                  และดินในพื้นที่นากุ้งร้าง นอกจากนี้ยังรวมถึงดินที่มีปัญหาเล็กน้อยที่เป็นข้อจ ากัดทางการเกษตร เช่น
                  ดินกรด และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า เป็นต้น (กรมพัฒนาที่ดิน, 2561)
                                    จากการวิเคราะห์ทรัพยากรดินของจังหวัดล าพูน พบปัญหาทรัพยากรดินที่เกิดขึ้น

                  ตามธรรมชาติ (ตารางที่ 3-1 และรูปที่ 3-2) ส่วนใหญ่เป็นปัญหาดินตื้น มีเนื้อที่ 607,553 ไร่ หรือร้อยละ
                  21.58 ของเนื้อที่จังหวัด แบ่งได้เป็น ดินตื้นในพื้นที่ดอนถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน มีเนื้อที่
                  395,310 ไร่ หรือร้อยละ 14.04 ของเนื้อที่จังหวัด ดินตื้นในที่ดอน ถึงชั้นหินพื้น มีเนื้อที่ 148,852 ไร่

                  หรือร้อยละ 5.29 ของเนื้อที่จังหวัด ดินที่มีหินโผล่ มีเนื้อที่ 58,791 ไร่ หรือร้อยละ 2.09 ของเนื้อที่
                  จังหวัด และดินตื้นถึงชั้นมาร์ล หรือก้อนปูน มีเนื้อที่ 4,600 ไร่ หรือร้อยละ 0.16 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไถพรวน ความสามารถในการดูดซับหรือการซึมของน้ า
                  ลงในดินต่ า เนื้อดินเหนียวและอินทรียวัตถุน้อย ท าให้การเกาะยึดตัวของเม็ดดินไม่ดี เกิดน้ าไหล่บ่า
                  การชะล้างพังทลายของดินและแร่ธาตุได้ง่าย

                                    นอกจากปัญหาดินตื้นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้ว ยังมีปัญหาความเสื่อมโทรม
                  ของทรัพยากรดินที่เกิดจากการใช้ที่ดินแบบเข้มข้น เกษตรกรมุ่งเน้นการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต
                  เป็นส าคัญ ใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่สอดคล้องกับปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดิน ฉีดพ่นสารเคมีในการก าจัด

                  วัชพืชปราบศัตรูพืชทั้งโรคและแมลง ขาดการปรับปรุงบ ารุงดินและการจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47