Page 47 - khonkaen
P. 47

บทที่ 3

                                                  ทรัพยากรธรรมชาติ




                  3.1  ทรัพยากรดิน

                        3.1.1 สถานภาพทรัพยากรดิน

                            1) ทรัพยากรดินในพื้นที่จังหวัด
                              ทรัพยากรดินในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (รูปที่ 3-1) ประกอบด้วย ดินในพื้นที่ราบลุ่มหรือ
                  พื้นที่น้้าขัง ดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง และดินที่มีความลาดชันสูง ซึ่งสามารถสรุปได้จากสมบัติ

                  ดินของหน่วยแผนที่ดินในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น (ตารางผนวกที่ 1) ได้ดังนี้
                              1.1)  ดินในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่น้้าขัง พบบริเวณที่ราบตะกอนน้้าพา ตะพักล้าน้้า ที่ราบ
                  ระหว่างเนิน สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ช่วงฤดูฝนมีน้้าแช่ขังแฉะมีระดับน้้าใต้ดินอยู่
                  ใกล้ผิวดิน การระบายน้้าค่อนข้างเลวถึงเลว มีสีเทาหรือสีเทาอ่อน จุดประสีตลอดหน้าตัดดิน ที่บ่งบอก
                  ถึงการมีน้้าแช่ขังในหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์

                  ต่้า สามารถจ้าแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้าง ๆ ได้ 5 กลุ่ม ดังนี้
                                  -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียว ดินร่วนเหนียว
                  ปนทรายแป้งหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่

                  ชุดดินชุมแพ (Cpa) ชุดดินกันทรวิชัย (Ka) ชุดดินเกษตรสมบูรณ์ (Ksb) ชุดดินหนองกุง (Nkg) ชุดดินโนน
                  ไทย (Nt) ชุดดินธวัชบุรี (Th) และดินคล้ายชุดดินโนนไทยที่มีการระบายน้้าค่อนข้างเลว (Nt-spd)
                                  -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทรายแป้ง มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ส่วนดินล่างเป็น
                  ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ ชุดดินศรีขรภูมิ (Sik)

                                  -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ส่วนดิน
                  ล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวหรือดินทรายปนดินร่วน
                  ได้แก่ ชุดดินศรีขรภูมิ (Sik) ชุดดินร้อยเอ็ด (Re) ชุดดินหนองบุญนาก (Nbn) ชุดดินนาดูน (Nad) ชุดดิน
                  สีทน (St) ชุดดินโนนแดง (Ndg) ชุดดินละหานทราย (Lah) ดินคล้ายชุดดินละหานทรายที่เป็นดินร่วน

                  ละเอียด (Lah-fl) ดินคล้ายชุดดินชุมแพที่เป็นดินร่วนละเอียด (Cpa-fl) ดินคล้ายชุดดินร้อยเอ็ดที่เป็นดิน
                  ร่วนหยาบ (Re-fl) และดินคล้ายชุดดินหนองบุญนากที่เป็นดินร่วนหยาบ (Nbn-fl)
                                  -  กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินบนและล่างเป็นดินทรายปนร่วน ได้แก่
                  ชุดดินอุบล (Ub) และดินคล้ายชุดดินอุบลที่เป็นทรายหนา (Ub-tks)

                                  -  กลุ่มดินที่เป็นดินเค็ม พบในบริเวณที่มีหินเกลือรองรับ มีเนื้อดินบนเป็นดิน
                  ร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทราย ส่วนดินล่างเป็น
                  ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย ได้แก่ ชุดดิน
                  กุลาร้องไห้ (Ki) ชุดดินทุ่งสัมฤทธิ์ (Tsr) และชุดดินปะทาย (Pt)

                                1.2)  ดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง ดินมีช่วงแห้งติดต่อกันน้อยกว่า 45 วัน
                  หรือดินแห้งรวมกันน้อยกว่า 90 วันในรอบปี มีสภาพพื้นที่มีตั้งแต่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบถึง
                  ลูกคลื่นลอนชัน มีระดับน้้าใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตร การระบายน้้าดีปานกลางถึงดี ดินมีสีน้้าตาล สี





                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดขอนแก่น                                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52