Page 50 - khonkaen
P. 50

3-4





                            2) ทรัพยากรดินที่มีปัญหาทางการเกษตร

                              ทรัพยากรดินในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สามารถจ้าแนกดินมีปัญหาทางการเกษตรได้เป็น
                  ดินปัญหาที่เกิดตามสภาพธรรมชาติ หมายถึง ดินปัญหาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากปัจจัยที่ให้
                  ก้าเนิดดิน ซึ่งประกอบด้วย วัตถุต้นก้าเนิดดิน สภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ พืชพรรณที่ขึ้นปกคลุม และ

                  ระยะเวลาที่เกิดขึ้น ซึ่งทรัพยากรดินที่มีปัญหาเฉพาะทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สามารถ
                  สรุปได้ ดังนี้ (ตารางที่ 3-1 และรูปที่ 3–2)
                              2.1)  ดินเค็ม มีเนื้อที่รวม 314,061 ไร่ หรือร้อยละ 4.63 ของพื้นที่ ดินเค็มที่พบเป็น
                  ดินเค็มบก เป็นดินที่มีการสะสมเกลือจากการละลายของหินเกลือหรือจากน้้าใต้ดินที่มีเกลือละลายน้้าอยู่
                  มาก ท้าให้พบชั้นสะสมเกลือมาก และยังพบพบคราบเกลือที่ผิวดิน ซึ่งพบมากที่สุดในพื้นที่อ้าเภอเมือง

                  ขอนแก่น รองลงมาเป็นอ้าเภอหนองสองห้อง และอ้าเภอพระยืน
                              2.2)  ดินทราย มีเนื้อที่รวม 1,179,160 ไร่ หรือร้อยละ 17.33 ของพื้นที่ เป็นดินที่มี
                  เนื้อดินบนเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน เกิดเป็นชั้นหนามากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน

                  รวมถึงพื้นที่ที่มีชั้นทรายหนามากกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ที่รองรับด้วยชั้นดานดินเหนียว หรือดิน
                  ร่วน เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้าง มีการระบายน้้าดีเกินไป ท้าให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้้า ความสามารถ
                  ในการอุ้มน้้าและดูดซับธาตุอาหารต่้า ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่้า ประเภทของดินทรายที่พบในพื้นที่
                  จังหวัดขอนแก่น คือ

                                  - ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 68,754 ไร่ หรือร้อยละ 1.01 ของพื้นที่ เป็นกลุ่ม
                  ดินทรายลึกมาก การระบายน้้าเลวหรือค่อนข้างเลว ซึ่งพบมากที่สุดในพื้นที่อ้าเภอหนองสองห้อง
                  รองลงมาเป็นอ้าเภอบ้านไผ่ และอ้าเภอเปื่อยน้อย
                                  - ดินทรายในพื้นที่ดอน มีเนื้อที่ 1,110,406 ไร่ หรือร้อยละ 16.32 ของพื้นที่

                  เป็นกลุ่มดินทรายลึกมาก การระบายน้้าดีถึงค่อนข้างมาก ซึ่งพบมากที่สุดในพื้นที่อ้าเภอบ้านไผ่
                  รองลงมาเป็นอ้าเภอหนองสองห้อง และอ้าเภอพล
                              2.3)  ดินตื้น มีเนื้อที่รวม 79,188 ไร่ หรือร้อยละ 1.16 ของพื้นที่ ดินตื้นเป็นดินที่พบ
                  ชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นหินหรือเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 35 โดยปริมาตร

                  หรือชั้นหินพื้นอยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ท้าให้เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช และการ
                  ไถพรวน ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตต่้า ความสามารถในการดูดซับน้้าและธาตุ
                  อาหารต่้า เนื้อดินเหนียวมีน้อยท้าให้การเกาะยึดตัวของเม็ดดินไม่ดี เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย

                  ประเภทของดินตื้นที่พบในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น คือ
                                - ดินตื้นในพื้นที่ดอนถึงชั้นลูกรัง ก้อนกรวด หรือเศษหิน มีเนื้อที่ 64,522 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 0.94 ของพื้นที่ ซึ่งพบมากที่สุดในพื้นที่อ้าเภอภูเวียง รองลงมาเป็นอ้าเภอชุมแพ และอ้าเภอเวียง
                  เก่า
                                - ดินตื้นในพื้นที่ดอนถึงชั้นหินพื้น มีเนื้อที่ 13,000 ไร่ หรือร้อยละ 0.19 ของพื้นที่

                  ซึ่งพบในพื้นที่อ้าเภอสีชมพู อ้าเภอภูผาม่าน และอ้าเภอชุมแพ
                                - ดินที่มีหินโผล่ มีเนื้อที่ 1,666 ไร่ หรือร้อยละ 0.33 ของพื้นที่ ซึ่งพบในพื้นที่อ้าเภอ
                  สีชมพู และอ้าเภอกระนวน







                  แผนการใช้ที่ดินจังหวัดขอนแก่น                                    กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55