Page 44 - khonkaen
P. 44

2-30





                                  การเพิ่มการผลิตพืชตระกูลถั่วทั้ง 3 ชนิดยังคงมีความเปนไปไดอีกมาก รวมทั้งการ

                  เพิ่มประสิทธิภาพจากการผลิต ที่ในปจจุบันยังถือไดวาอยูในระดับต่ํา จะทําใหตนทุนการผลิตตอหนวย
                  ผลผลิตลดลง และผลผลิตที่ไดมีคุณภาพสูงขึ้นจะสงผลใหราคาผลผลิตและรายไดของการเกษตรกรดีขึ้น
                  แตปญหาเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตของพืชนั้นคือ ตองมีการเรงรัดพัฒนาพันธุใหมของถั่วเหลือง ถั่วเขียว

                  และถั่วลิสง และทําการผลิตเมล็ดพันธุดีใหพอเพียงตอความตองการของเกษตรกร สําหรับปญหาดาน
                  ตนทุนคาแรงแพงนั้น ก็ไดมีการพัฒนาเครื่องปลูกและเครื่องเก็บเกี่ยวเขาไปทดแทนแรงงานบางสวนอยู
                  บางแลว สวนปญหาเกี่ยวกับนโยบายการแทรกแซงราคา หรือประกันราคาพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่มี
                  ผลกระทบทําใหพื้นที่เพาะปลูกของพืชทั้ง 3 ชนิดลดลง ถามีการยกเลิกและปลอยใหเปนไปตามกลไก
                  ของตลาดแลวก็คาดวาเกษตรกรจะหันมาปลูกพืชทั้ง 3 ชนิด เพิ่มขึ้นอีกมาก

                                  การที่ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสงนั้นไมไดเปนพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ จึงทําใหไดรับ
                  การสนับสนุนจากภาครัฐไมเพียงพอ อีกทั้งยังไดผลตอบแทนต่ําสูการปลูกพืชแขงขันชนิดอื่นไมได
                  เกษตรกรสวนใหญจึงไมสนใจที่จะปลูกเปนพืชหลัก แตขอเท็จจริงถั่วทั้ง 3 ชนิด เปนพืชที่มีขอดีที่สําคัญ

                  คือ ชวยบํารุงดิน จึงสงผลดีตอพืชหลักที่ปลูกสลับกับการปลูกถั่ว ทําใหพืชหลักไดผลผลิตสูงขึ้น ดังนั้น
                  รัฐบาลจึงควรจะมีการสงเสริมและสนับสนุนใหมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะอยางยิ่งการ
                  สงเสริมใหมีการนําไปปลูกในระบบการปลูกพืชหมุนเวียน และควรใหความรูรวมทั้งสรางความเขาใจแก
                  เกษตรกรถึงประโยชนที่จะไดรับจากการปลูกพืชตระกูลถั่วในการประหยัดการใชน้ําชลประทาน การเพิ่ม

                  ความอุดมสมบูรณใหแกดิน ลดการใชปุยในพืชตามและการชวยตัดวงจรของโรคและแมลงที่เปนปญหา
                  ของพืชหลักที่เกิดจากการปลูกพืชชนิดเดียวซ้ํากัน
                                2.6) กัญชา/กัญชง ตามราง พ.ร.บ.กัญชากัญชงโดยกระทรวงสาธารณสุข ระบุยา
                  เสพติดใหโทษในประเภท 5 2565 เมื่อ 8 ก.พ. 65 เพื่อปลดล็อกทุกสวนกัญชาออกจากความเปนยาเสพ

                  ติดอยางสิ้นเชิง ยกเวนสารสกัดของกัญชาที่มีคา THC เกิน 0.2% จะยังถือวาเปนสารเสพติด ตอง
                  ควบคุมตามเดิม โดย 1) ควบคุมเรื่องการปลูก สกัด ผลิตเปนผลิตภัณฑเปนหลัก รวมถึงการใชในเชิง
                  นันทนาการดวย 2) หากใชประโยชนในครัวเรือน ตองมีการจดแจง 3) ผูที่ปลูกเพื่อผลิต นําเขา สงออก
                  หรือขาย ตองไดรับอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

                                อยางไรก็ตามยังมีขอหามสําคัญ หามขายกัญชา กัญชง เเกบุคคลดังตอไปนี้ 1) ผูมีอายุ
                  ต่ํากวายี่สิบป 2) สตรีมีครรภ 3) สตรีใหนมบุตร 4) บุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีวาการกระทรวง
                  สาธารณสุขประกาศกําหนด

                                และในระยะเวลา 5 ปนับแตวันที่ พ.ร.บ.นี้ใชบังคับ การนําเขากัญชา กัญชง ใหกระทํา
                  ไดเฉพาะกรณี 1) เพื่อการศึกษา วิเคราะห วิจัย 2) เพื่อประโยชนในทางการแพทย
                                สําหรับในการเพาะปลูก ยังมีขอจํากัดในดานอุณหภูมิ ความชื้น แสง อากาศ สื่อในการ
                  ปลอยสารอาหารหรือพื้นที่เติบโต จะมีทั้งดิน ไฮโดร และอื่น ๆ สารอาหาร คา PH ที่เหมาะสม ตั้งแต
                  เพาะเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยว

                                2.7) พืชสมุนไพร ดวยนโยบายของรัฐบาลที่ใหการสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-
                  Circular-Green Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพร
                  เปนเรื่องหนึ่งที่ไดรับความสนใจ เนื่องจากเปนแหลงของสาระสําคัญที่นําไปใชประโยชนในดานตาง ๆ

                  เชน การแพทย ผลิตภัณฑเสริมอาหาร และเครื่องสําอาง จึงสนับสนุนใหพืชสมุนไพรเปนพืชทางเลือกใน





                  แผนการใชที่ดินจังหวัดขอนแกน                                    กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49