Page 50 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 50

2-37




                  พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรที่เป็น

                  มิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความ
                  มั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนศึกษาความเหมาะสมในการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเหล่านี้ให้เป็น

                  มาตรการเชิงบังคับ ขยายผลแนวคิดการท าเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนให้มี
                  กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและผลักดันสู่กระบวนการท าเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

                        5. นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 –

                  2579) มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องดังนี้
                           ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                  มีกลยุทธ์หลักได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์
                  สูงสุด โดยมุ่งเน้นการวางแผนก าหนดเป้าหมาย และสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศ ให้มี                                                          2-37

                  ความเหมาะสมอย่างเป็นระบบ ตามศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของดิน โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้ง
                  ประเทศ การจัดให้มีการวางผังเมืองในทุกระดับ โดยให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
                  บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการทางวิชาการ การก าหนดเขตและ

                  มาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งในระดับประเทศ ระดับลุ่มน้ าและระดับจังหวัด ให้มีความสัมพันธ์และ
                  สอดคล้องกัน การก ากับ ควบคุมการถือครองที่ดินของประเทศ ให้มีการกระจายการถือครองที่ดิน อย่าง

                  เป็นธรรม ขอคืนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อน ามาใช้ประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งป้องกันการถือครอง
                  ที่ดิน ของคนต่างชาติ และนิติบุคคลต่างด้าว โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และการส่งเสริม สนับสนุน ให้มี

                  การน าที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ กลับมาใช้ประโยชน์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและ
                  ท่องถิ่น เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยใช้กลไกประชารัฐ 2) การเสริมสร้างฐานการผลิตภาค

                  เกษตรกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยมุ่งเน้นการก าหนดพื้นที่
                  เกษตรกรรม (Zoning) โดยการวางผัง จัดรูปที่ดิน จัดระบบชลประทาน จัดสร้างถนนหรือทางล าเลียงใน
                  ไร่นา ปรับระดับพื้นที่ บ ารุงดิน วางแผนการผลิต และจ าหน่ายผลิตผลทางการเกษตรที่มีความเหมาะสม

                  กับสภาพของแต่ละพื้นที่ การพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรกรรม ในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดต้นทุน
                  โดยอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตร เทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริม สนับสนุน การ

                  ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยว ไปสู่รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                  เกื้อกูลกับระบบนิเวศและสอดคล้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ า การฟื้นฟู ปรับปรุง คุณภาพดินที่เสื่อม

                  โทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ และแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยใน
                  การท าการเกษตร และเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ

                  และขยายโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่ท ากินของเกษตรกรให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นฐานการผลิตการเกษตรที่
                  ยั่งยืน และการสร้างกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินเกษตรกรรม เพื่อรักษาฐาน
                  การผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน และ 3) การเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้านการใช้

                  ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินต่อผลกระทบและภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่
                  ได้รับความเสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการคาดการณ์ และประเมินผล
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55