Page 47 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 47

2-34




                      4. ระบบนิเวศน์


                        จังหวัดเชียงราย มีป่าไม้ในเขตลุ่มน้ ากก-ลุ่มน้ าโขงตอนบน ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ประเภท
                  ป่าเบญจพรรณและป่าแดง มีป่าไม้ผลัดใบประเภทป่าดิบเขาและป่าสนตามบริเวณที่สูงจาก
                  ระดับน้ าทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป ไม้ที่ส าคัญ ได้แก่ ไม้สัก ตะเคียน เต็ง รัง ประดู่ และมะค่าโมง เป็น
                  ต้น ระบบนิเวศเกษตรนั้นประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์
                  เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเพาะปลูกจึงกล่าวได้ว่า เชียงรายเป็นอู่ข้าวอู่น้ าของภาคเหนือโดยการผลิตทาง

                  การเกษตรที่ส าคัญ ได้แก่ พืชเศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ ข้าวนาปี มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดร้อยละ 77.05
                  ของพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียว พืชอื่นที่มีการปลูกได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ล าไย ลิ้นจี้
                  กาแฟ ชา สับปะรด และยางพารา ปศุสัตว์ที่ส าคัญ ได้แก่ โคเนื้อ โคนม กระบือ สุกร และสัตว์ปีก ส่วน

                  ด้านประมง การเลี้ยงส่วนใหญ่ร้อยละ 65 เป็นการเลี้ยงในระดับการเลี้ยงเพื่อยังชีพ อาศัยน้ าฝน และอีก
                  ร้อยละ 35 เป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ และ                                                            2-34
                  สัตว์น้ าอื่นๆ เช่น กุ้งก้ามกราม และกบ
                            ส าหรับคุณภาพน้ านั้นจังหวัดเชียงรายตั้งอยู่ในลุ่มน้ ากกและลุ่มน้ าโขง (เหนือ) โดยลุ่มน้ า

                  กกที่น้ าไหลผ่านจากอ าเภอเชียงแสน ดอยหลวง แม่จัน เวียงเชียงรุ้ง และเมือง คุณภาพน้ าโดยรวมตลอด
                  ปีอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมเทียบได้ตามมาตรฐานแหล่งน้ าผิวดินประเภทที่ 4 สามารถใช้ประโยชน์จาก
                  แหล่งน้ าเพื่อการอุตสาหกรรมการอุปโภคและบริโภค โดยต้องท าการฆ่าเชื้อและปรับปรุงคุณภาพน้ าเป็น
                  พิเศษก่อน ส่วนลุ่มน้ าโขง (เหนือ) ที่น้ าไหลผ่านอ าเภอเชียงของ และอ าเภอขุนตาล คุณภาพน้ าโดยรวม

                  ตลอดปีอยู่ในเกณฑ์พอใช้เทียบได้ตามมาตรฐานแหล่งน้ าผิวดินประเภทที่ 3 คือ สามารถใช้ประโยชน์จาก
                  แหล่งน้ าเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภคโดยผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการ
                  ปรับปรุงคุณภาพน้ าทั่วไปก่อน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52