Page 120 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย
P. 120

4-21






                          4.3  คุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่รัฐได้ลงทุนจัดท า

                  โครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ไว้แล้ว เช่น ระบบชลประทาน ระบบคมนาคมและขนส่ง ได้แก่ พื้นที่
                  เกษตรกรรมในเขตชลประทาน รวมทั้งพื้นที่เพาะปลูกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นโดยจะต้องก าหนด
                  มาตรการช่วยเหลือและจูงใจให้เจ้าของที่ดินรักษาที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเอาไว้

                          4.4   ก าหนดมาตรการด้านอนุรักษ์ดินและน้ า ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของจังหวัด และ
                  ปรับปรุงฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเกษตรกรรม เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมีใช้
                  ขบวนการทางชีวภาพทดแทนสารเคมีทางการเกษตร และปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรตาม
                  ศักยภาพของพื้นที่และความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ แนวทางด าเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน
                  ปี 2551 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของดินรวมทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิตการเกษตรให้สูงขึ้นเพื่อ

                  เป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน
                          4.5   สนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากร
                  และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของความสมัครใจและการมีส่วนรวมของเกษตรกร

                  โดยก าหนดมาตรการจูงใจให้เกษตรกรท าการผลิตตามเขตการใช้ที่ดิน เช่น สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน
                  สนับสนุนปัจจัยด้านการผลิตในราคาถูก เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
                          4.6   ส่งเสริม และถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้เกษตรกรสามารถเพิ่มปริมาณ
                  และคุณภาพผลผลิตโดยการอบรมแนะน าความรู้ต่างๆเช่นวิธีการปลูกการใส่ปุ๋ยการจัดการการดูแล
                  รักษาการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวให้มีความเหมาะสม


                  4.3  สรุปและข้อเสนอแนะ
                        1. สรุป

                          แผนการใช้ที่ดินจังหวัดเชียงราย เป็นการก าหนดเขตการใช้ที่ดินตามศักยภาพและก าลังผลิต
                  ของพื้นที่ บนพื้นฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักการใช้ที่ดินอย่าง
                  ยั่งยืนและตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้แผนการใช้ที่ดินสามารถเป็นกรอบและแนวทางในการ

                  จัดท าแผนพัฒนาการเกษตรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งสามารถก าหนดเขตการใช้
                  ที่ดินของจังหวัดพิษณุโลก ออกเป็น 5 เขต ได้แก่
                          1.1  เขตพื้นที่ป่าไม้ ครอบคลุมเนื้อที่ 4,430,919 ไร่ หรือร้อยละ 60.67 ของเนื้อที่จังหวัด
                  ซึ่งแบ่งเป็น 1) เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีเนื้อที่ 4,065,274 ไร่ หรือร้อยละ 55.70 ของเนื้อที่จังหวัด 2) เขต
                  พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ มีเนื้อที่ 248,905 ไร่ หรือร้อยละ 3.41 ของเนื้อที่จังหวัด และ 3) เขตคงสภาพป่านอก

                  เขตป่าไม้ตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรี มีเนื้อที่ 116,740 ไร่ หรือร้อยละ 1.60 ของเนื้อที่จังหวัด
                          1.2   เขตเกษตรกรรม ครอบคลุมเนื้อที่ 2,319,022 ไร่ หรือร้อยละ 31.77 ของเนื้อที่จังหวัด แบ่ง
                  ออกเป็น 5 เขตย่อย ได้แก่  1) เขตเกษตรกรรมชั้นดี ครอบคลุมเนื้อที่ 366,967 ไร่ หรือร้อยละ 5.03

                  ของเนื้อที่จังหวัด 2) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตสูง ครอบคลุมเนื้อที่ 1,642,325 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 22.50 ของเนื้อที่จังหวัด 3) เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพการผลิตต่ า ครอบคลุมเนื้อที่ 277,016
                  ไร่ หรือร้อยละ 3.79 ของเนื้อที่จังหวัด 4) เขตปศุสัตว์ มีเนื้อที่ 15,738 ไร่ หรือร้อยละ 0.22 ของเนื้อที่
                  จังหวัด และ 5) เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า มีเนื้อที่ 16,976 ไร่ หรือร้อยละ 0.23 ของเนื้อที่จังหวัด
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125