Page 56 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 56

3-12





                              จากค่าปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัยนั้น สามารถน ามาค านวณการสูญเสียดิน สอดคล้องตามสมการ

                  การสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแบ่ง
                  ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดินออกเป็น 5 ระดับดังนี้


                               ชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน  อัตราการสูญเสียดิน (ตัน/ไร่/ปี)
                                            น้อย                           0-2
                                          ปานกลาง                          2-5
                                           รุนแรง                         5-15
                                            มาก                           15-20
                                          มากที่สุด                    มากกว่า 20

                              ผลจากการประเมินอัตราการสูญเสียดินของจังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า พื้นที่ทั้งหมด
                  ของจังหวัดสมุทรสงคราม มีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินน้อย เนื่องจากมีสภาพเป็นที่ราบ เนื้อดิน

                  เป็นดินเหนียว มีการปรับสภาพพื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกไม้ผล โอกาสเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                  มีน้อย บางพื้นที่เป็นนาเกลือ และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า


                      3.3.3 การประเมินคุณภาพที่ดิน
                          การประเมินคุณภาพที่ดิน การประเมินคุณภาพที่ดินเป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วย
                  ทรัพยากรที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน การประเมิน

                  คุณภาพที่ดินในหลักการของ FAO Framework สามารถท าได้ 2 รูปแบบ
                              รูปแบบแรก การประเมินทางด้านคุณภาพ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นการประเมิน
                  เชิงกายภาพเท่านั้น ว่าที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ
                              รูปแบบที่สอง การประเมินทางด้านปริมาณ หรือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนใน

                  รูปผลผลิตที่ได้รับ ตัวเงินในการลงทุน และตัวเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ
                            ในที่นี้ได้ประเมินเฉพาะรูปแบบแรก คือ การประเมินเชิงกายภาพ ว่ามีความเหมาะสม
                  ตามข้อก าหนดคุณภาพที่ดินอย่างไรต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ
                          1. การก้าหนดคุณภาพที่ดิน

                              คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืชในระบบของ FAO Framework ได้ก าหนด
                  ไว้ทั้งหมด 25 ชนิด ในที่นี้น ามาใช้เพียงไม่กี่ชนิดโดยขึ้นอยู่กับความพร้อมของข้อมูล ความแตกต่างของภูมิภาค
                  และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต ตลอดจนชนิดของพืช และความต้องการการใช้
                  ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirements) ดังนั้นคุณภาพที่ดิน (Land Qualities) ที่น ามาใช้มีดังนี้

                                1) ระบอบอุณหภูมิ (Temperature regime : t) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                  ได้แก่ ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก เพราะอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด ต่อการออกดอกของพืช
                  บางชนิด และมีส่วนสัมพันธ์กับขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช

                                2) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture availability : m) คุณลักษณะ
                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยในรอบปี
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61