Page 61 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 61

4-3





                  ยั่งยืน อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่

                  สนับสนุนการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุอินทรีย์ และการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี
                  การเกษตร สนับสนุนงานวิจัย และจัดท าพื้นที่ต้นแบบ เพื่อสาธิตการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็น

                  มิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดให้มีแหล่งทุนและกลไกทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับรูปแบบการ
                  ท าการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพ

                  สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานความ
                  ปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนศึกษาความเหมาะสมในการ

                  ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเหล่านี้ให้เป็นมาตรการเชิงบังคับ ขยายผลแนวคิดการท าเกษตรตามหลัก
                  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และผลักดันสู่กระบวนการท า
                  เกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง


                        5. นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 –
                  2579) มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องดังนี้
                           ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

                  มีกลยุทธ์หลักได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์
                  สูงสุด โดยมุ่งเน้นการวางแผนก าหนดเป้าหมายและสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศ ให้มี

                  ความเหมาะสมอย่างเป็นระบบ ตามศักยภาพของที่ดิน และสมรรถนะของดิน โดยให้ความส าคัญกับการ
                  มีส่วนร่วมของประชาชนและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการทาง

                  วิชาการ การก าหนดเขตและมาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งในระดับประเทศ ระดับลุ่มน้ า และระดับ
                  จังหวัด ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน 2) การเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็ง

                  และยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยมุ่งเน้นการก าหนดพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) โดยการ
                  วางผัง จัดรูปที่ดิน จัดระบบชลประทาน จัดสร้างถนนหรือทางล าเลียงในไร่นา ปรับระดับพื้นที่ บ ารุงดิน
                  วางแผนการผลิต และจ าหน่ายผลิตผลทางการเกษตรที่มีความเหมาะสมกับสภาพของแต่ละพื้นที่

                  การพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรกรรม ในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและลดต้นทุน โดยอาศัยองค์ความรู้ทาง
                  วิชาการด้านการเกษตร เทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริม สนับสนุน การปรับเปลี่ยนกระบวนการ

                  ผลิตจากพืชเชิงเดี่ยว ไปสู่รูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกื้อกูลกับระบบนิเวศและ
                  สอดคล้องกับการอนุรักษ์ดินและน้ า การฟื้นฟู ปรับปรุง คุณภาพดินที่เสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์

                  และแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยในการท าการเกษตร และเสริมสร้าง
                  ความมั่นคงทางอาหาร การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพ และขยายโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่

                  ท ากินของเกษตรกรให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นฐานการผลิตการเกษตรที่ยั่งยืน และการสร้างกลไกการป้องกัน
                  และแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินเกษตรกรรม เพื่อรักษาฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและ
                  ยั่งยืน และ 3) การเตรียมความพร้อมในการปรับตัวด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินต่อ

                  ผลกระทบและภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่ได้รับความเสี่ยงจากการเกิดภัย
                  ธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการคาดการณ์และประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในที่ดินหรือ
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66