Page 62 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสมุทรสงคราม
P. 62

4-4





                  ทรัพยากรดินจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภัยธรรมชาติ และการก าหนดแนวทางในการ

                  รับมือ ป้องกัน แก้ไขปัญหา ก าหนดมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสม ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและ
                  ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ที่ได้รับความเสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติที่อาจจะ

                  เกิดขึ้น โดยมีการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
                         ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน มีกลยุทธ์หลักได้แก่ 1) การ

                  พัฒนาเครื่องมือ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็น
                  ธรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน

                  และทรัพยากรดิน รวมทั้งผลักดันให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการน าเทคโนโลยี
                  นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดิน การเร่งรัด พัฒนาระบบ
                  ฐานข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดิน การจัดท าแผนที่ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยมีกฎหมายรองรับ

                  มีมาตรการทางการเงิน การคลัง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์
                  สูงสุดและเป็นธรรม และ 2) การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน

                  โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน โดยมี
                  แผนงานการวิจัยที่เป็นระบบ รวมทั้งเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดัน

                  ผลงาน การวิจัยไปสู่การปฏิบัติ และการพัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและ
                  ทรัพยากรดิน ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ

                        6. แผนพัฒนาภาคกลาง และพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560 - 2565 มียุทธศาสตร์และ

                  แนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมโดยใช้นวัตกรรม

                  เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีแนวทางการพัฒนา
                  ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) น าผลการวิจัย และพัฒนาด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรมาใช้
                  ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น น าผลการวิจัยและพัฒนาของสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติมาใช้ในการ

                  พัฒนาการผลิตข้าวในพื้นที่ เพื่อผลผลิตต่อไร่ เพิ่มศักยภาพ และยกระดับคุณภาพข้าวซึ่งเป็นสินค้า
                  ส่งออกที่ส าคัญของประเทศให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด เป็นต้น 2) พัฒนามาตรฐาน

                  ฟาร์มเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) จากสินค้าเกษตรหลักของภาค ได้แก่ ข้าว พืชผัก
                  มะพร้าว โคนม โคเนื้อ สุกร ไก่ เป็ด กุ้ง ปลา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตส าคัญ ได้แก่ จังหวัด

                  ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม และ
                  ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อการส่งออกสินค้าเกษตรคุณภาพสูง ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคใน

                  ตลาดเฉพาะและตลาดระดับบน และ3) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อยกระดับสู่ Smart
                  Farmer และ Smart Farming โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการ
                  ผลิตที่ทันสมัยและพันธุ์ที่เหมาะสม รวมทั้งปรับปรุงระบบการบริหารจัดการตลาดให้มีประสิทธิภาพ
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67