Page 34 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสกลนคร
P. 34

2-18






                        2.6.2 พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญของจังหวัด

                             พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ พืชที่มีอนาคต พืชเสริมรายได้ และพืชทางเลือก ซึ่งปัจจุบันปลูกอยู่
                  ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และมีศักยภาพในการปลูกในอนาคต ได้แก่
                             (1) พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญและเป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร คือ ข้าวหอมมะลิ

                  ยางพารา มันส าปะหลัง และอ้อยโรงงาน
                               โดยปัจจุบันจังหวัดสกลนครมีเนื้อที่ปลูกข้าว 2,444,471 ไร่ หรือร้อยละ 40.72
                  ของเนื้อที่จังหวัด ยางพารา (พืชเดี่ยว) 625,074 ไร่ หรือร้อยละ 10.41 ของเนื้อที่จังหวัด และปลูก
                  มันส าปะหลัง 370,875 ไร่ หรือร้อยละ 6.18 ของเนื้อที่จังหวัด (กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน 2560)

                             (2) พืชที่มีอนาคตทั้งด้านคุณภาพและราคาตลาด ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป
                  ได้แก่ ข้าวเปลือกเหนียวพันธุ์ กข.6 หรือข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (ข้าวฮางหอมสกลทวาปี:
                  เลขที่ค าขอ 49100026 ทะเบียนเลขที่ สช 49100014) พืชสมุนไพร (ไพล ขมิ้น ตะไคร้ มะกรูด มะขาม

                  พิมเสน) หมากเม่าสกลนคร (น้ าหมากเม่าสกลนคร : เลขที่ค าขอ 57100104 ทะเบียนเลขที่ สช 58100070
                  ประกาศเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2558)
                             (3) พืชที่จะปลูกตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ข้าว พืชสมุนไพร
                  พืชหลังนาสร้างรายได้ผ่านกลไกสหกรณ์ และพืชทดแทนพลังงาน

                             (4) พืชเสริมรายได้ ได้แก่ คราม (ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร คือ ผ้าฝ้ายที่ผ่านกระบวนการ
                  ย้อมครามธรรมชาติตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร ท าให้ได้สีฟ้าอ่อนถึงสีน้ าเงินเข้มเป็นมันวาว ไม่ตก
                  สีและมีกลิ่นเฉพาะตัว : เลขที่ค าขอ 49100027 ทะเบียนเลขที่ สช 58100068 ประกาศเมื่อวันที่ 11
                  มีนาคม 2558)

                             (5) พืชทางเลือกเพิ่มเติมในอนาคต คือ หม่อนพันธุ์สกลนคร หวาย (กินหน่อ) และไผ่
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39