Page 20 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดลพบุรี
P. 20

2-2





                  แผ่นดินลพบุรีนับอเนกอนันต์ ส่วนพระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถานที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมือง

                  ลพบุรี ต้นไม้ประจ าจังหวัด : ต้นพิกุล ดอกไม้ประจ าจังหวัด : ดอกพิกุล

                        2.1.2 พืชที่ส าคัญของจังหวัด
                            1) พืชที่มีข้อบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่รับรองโดย EU (Geographical Indication crops;
                  GI crops) ได้แก่ กระท้อนตะลุง
                  การขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ "กระท้อนตะลุง" ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีที่นิยม

                  ปลูกกันมากในพื้นที่ 3 ต าบลของอ าเภอเมืองลพบุรี คือ ต าบลตะลุง ต าบลงิ้วราย และต าบลโพธิ์เก้าต้น ซึ่ง
                  เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ าลพบุรีไหลผ่านและหน้าดินเป็นดินน้ าไหลทรายมูลหรือดินทรายหวานที่เหมาะสม
                  แก่การเพาะปลูกกระท้อน ท าให้ผลผลิตกระท้อนที่ได้มีคุณภาพและรสชาติเป็นที่นิยมของตลาด แตกต่าง

                  จากกระท้อนที่ปลูกในพื้นที่อื่น ผลของกระท้อนตะลุงจะมีรูปทรงกลมค่อนข้างแป้น ผิวนอก เรียบละเอียด
                  และอ่อนนุ่ม มีขนนิ่มขนาดเล็กคล้ายก ามะหยี่ เปลือกบาง เนื้อและปุยเมล็ดค่อนข้างแห้งและนุ่ม รสชาติ
                  เนื้อและปุยเมล็ดหวาน และไม่มีรสฝาด จังหวัดลพบุรีได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนกระท้อนตะลุงเป็นสินค้า
                  สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI เมื่อเดือนกันยายน 2559 และ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ขึ้น

                  ทะเบียนกระท้อนตะลุง เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI แล้ว ตามทะเบียน
                  เลขที่ สช 61100109 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2561 และในปี 2562 จังหวัดลพบุรีร่วมกับกรมทรัพย์สิน
                  ทางปัญญา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีลงพื้นที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตและคุณภาพ
                  ของกระท้อนตะลุง ในระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2562 และได้อนุญาตให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบ

                  การค้า จ านวน 92 ราย เป็นผู้ผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทาง
                  ภูมิศาสตร์ไทย หรือ GI โดยกระท้อนตะลุงที่ผ่านการตรวจสอบมีค่าความหวานอยู่ในช่วง 9-16 องศาบริกซ์ โดย
                  ผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้าที่ผ่านการตรวจสอบ จะได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทาง
                  ภูมิศาสตร์ไทย หรือตราสัญลักษณ์ GI เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อกระท้อนตะลุงที่มีคุณภาพได้อย่าง

                  มั่นใจยิ่งขึ้น และยังเป็นการช่วยรักษามาตรฐานและคุณภาพของกระท้อนตะลุง อีกด้วย (ส านักงาน
                  ประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี, 2562)
                            2) พืชที่ปลูกเพื่อยังชีพ บริโภคในครัวเรือน (Subsistence crops) ได้แก่ ข้าว

                            3) พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน มันส าปะหลังโรงงาน
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และทานตะวัน (ส านักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี, 2564) โดยมีโรงงานอุตสาหกรรม
                  เกี่ยวกับการเกษตรที่ส าคัญรองรับ ได้แก่ โรงสีข้าว โรงผลิตน้ าตาลทราย โรงงานท าอาหารสัตว์ และ
                  โรงอบเมล็ดพืช (กรมโรงงานอุตสาหกรรม, 2564) (ตารางผนวกที่ 2-1)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25